ตำรวจไซเบอร์

BRAND'S BRAIN CAMP

ตำรวจไซเบอร์

ผู้รับผิดชอบด้านการป้องกัน ปราบปราม และสืบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เช่น การแฮ็กข้อมูล หลอกลวงออนไลน์ การเงินผิดกฎหมาย และอาชญากรรมไซเบอร์รูปแบบต่าง ๆ โดยเน้นการติดตามและวิเคราะห์พฤติกรรมบนโลกออนไลน์ ด้วยเครื่องมือดิจิทัลและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ 

ตำรวจไซเบอร์
  • สืบสวนและวิเคราะห์ข้อมูลดิจิทัล ตรวจสอบ รวบรวม และวิเคราะห์หลักฐานจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในกระบวนการทางกฎหมาย
  • ตรวจสอบและติดตามความผิดทางไซเบอร์ เฝ้าระวังเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมออนไลน์ เช่น เว็บหลอกลวงหรือการพนัน
  • ปฏิบัติการเชิงเทคนิค ใช้เครื่องมือเฉพาะทางในการถอดรหัส กู้ข้อมูล และตรวจสอบเส้นทางการเงินดิจิทัล
  • ทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสานงานกับหน่วยงานรัฐ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ธนาคาร และองค์กรระหว่างประเทศเพื่อปราบปรามอาชญากรรมไซเบอร์
  • เผยแพร่ความรู้และรณรงค์ป้องกัน ให้ข้อมูลประชาชนเกี่ยวกับภัยไซเบอร์และแนวทางป้องกันผ่านกิจกรรมและสื่อ
  • ติดตามและศึกษารูปแบบอาชญากรรมออนไลน์ วิเคราะห์สถิติจากระบบรับแจ้งความออนไลน์และพัฒนากลยุทธ์ให้ทันต่อภัยคุกคามรูปแบบใหม่
  1. รับแจ้งเหตุและตรวจสอบเบื้องต้น รับข้อมูลจากผู้เสียหายผ่านสายด่วน 1441 หรือ thaipoliceonline.co.th และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล
  2. สอบปากคำและรับแจ้งความ นัดผู้เสียหายให้มาสอบปากคำ และดำเนินการรับแจ้งความอย่างเป็นทางการ
  3. สืบสวนและเก็บรวบรวมหลักฐาน สืบค้นข้อมูลจากอุปกรณ์ดิจิทัล พร้อมประสานธนาคารหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเก็บหลักฐานตามขั้นตอนของกฎหมาย
  4. วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล ใช้โปรแกรมและเทคนิคในการตรวจสอบลิงก์ ข้อมูล IP และพฤติกรรมบนเครือข่าย
  5. ติดตามและจับกุมผู้กระทำผิด ประสานกับทีมภาคสนามเพื่อจับกุมตามหมายจับเมื่อพยานหลักฐานครบถ้วน
  6. จัดทำรายงานและพยานหลักฐาน สรุปผลการตรวจสอบ จัดทำเอกสารและหลักฐานดิจิทัลเพื่อใช้ในกระบวนการฟ้องร้อง
  7. ติดตามและปิดคดี ตรวจสอบผลคดีจนสิ้นสุด และสรุปบทเรียนเพื่อปรับปรุงแนวทางการป้องกันในอนาคต
  1. เจ้าหน้าที่พิสูจน์หลักฐาน (Digital Forensics)
  2. เจ้าหน้าที่ศาล
  3. อัยการ
  4. เจ้าหน้าที่ธนาคาร
  5. ตำรวจตำแหน่งต่าง ๆ
  • สถานที่ทำงาน กองบัญชาการสืบสวนสอบสวน กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวน สถานีตำรวจ และพื้นที่เกิดเหตุในกรณีที่ต้องลงภาคสนาม
  • เวลาทำงาน ปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง แบ่งเวรเป็นกะเช้าหรือกะดึก โดยมีทั้งระบบ 8 ชั่วโมง และ 12 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับหน่วยงานและภารกิจ วันหยุดเป็นไปตามประกาศราชการ แต่ในช่วงวันหยุดสำคัญหรือมีเคสเร่งด่วน อาจไม่สามารถหยุดได้ตามปกติ
  1. มีความรู้ด้านกฎหมายไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูล เข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและสิทธิส่วนบุคคล
  2. มีทักษะการสืบสวนและวิเคราะห์ข้อมูลดิจิทัล ตรวจสอบพฤติกรรมผู้ต้องสงสัยจากหลักฐานดิจิทัลและเส้นทางการใช้งาน และเส้นทางการเงิน ตรวจสอบธุรกรรม การโอนเงิน และเส้นทางการเงินผ่านระบบออนไลน์
  3. สามารถการใช้เครื่องมือสืบสวนสวนและวิเคราะห์ ใช้งานโปรแกรมถอดรหัส กู้ไฟล์ และวิเคราะห์หลักฐานทางเทคนิค
  4. มีความเข้าใจด้าน Cybersecurity และโครงสร้างเครือข่าย วิเคราะห์ช่องโหว่และเข้าใจโครงสร้างระบบดิจิทัล
  5. มีทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี ใช้งานระบบต่าง ๆ ได้อย่างเชี่ยวชาญและทันต่อเทคโนโลยีใหม่
  6. มีทักษะการทำงานเป็นทีมและการสื่อสาร ประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้เงื่อนไขเวลาและสถานการณ์กดดัน
  • ผลตอบแทน 
    • เงินเดือนเริ่มต้นระดับตำรวจชั้นประทวนอยู่ที่ประมาณ 15,000 – 20,000 บาท/เดือน
    • ระดับชั้นสัญญาบัตร (เช่น สารวัตร/รองสารวัตร) อยู่ที่ 25,000 – 35,000 บาท/เดือน
    • มีค่าตำแหน่ง เบี้ยเลี้ยง และเบี้ยเสี่ยงเพิ่มเติม ประมาณ 3,000 – 10,000 บาท/เดือน ขึ้นอยู่กับลักษณะงานและพื้นที่ปฏิบัติ
    • เงินเดือนปรับขึ้นตามอายุงานและตำแหน่ง
    • ได้รับสวัสดิการข้าราชการ เช่น ประกันสังคม เบี้ยเลี้ยงภาคสนาม และค่าครองชีพ
  • โอกาสและการเติบโตของอาชีพตำรวจไซเบอร์ นาที่ที่ 53
    • มีโอกาสเติบโตในระดับนโยบายหรือระดับสากล สามารถทำงานเชิงยุทธศาสตร์หรือร่วมกับองค์กรต่างประเทศ เช่น Interpol, UNODC
    • สามารถหมุนเวียนไปสายงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ปอท., ปปง., หน่วยวิเคราะห์ข้อมูล หรือฝ่ายเทคโนโลยีของหน่วยงานรัฐ
    • มีโอกาสอบรมหรือเข้าร่วมโครงการพิเศษในต่างประเทศ เพิ่มทักษะและเครือข่ายระดับนานาชาติ
    • เป็นอาชีพที่ได้รับความต้องการเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากภัยไซเบอร์ในสังคมดิจิทัลมีแนวโน้มสูงขึ้น
    • มีโอกาสพัฒนาเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น นักวิเคราะห์มัลแวร์ ผู้ตรวจพิสูจน์ดิจิทัล หรือที่ปรึกษาด้านนโยบายไซเบอร์
  • ความท้าทายของอาชีพตำรวจไซเบอร์ 
    • เทคโนโลยีเปลี่ยนเร็วกว่ากฎหมาย ทำให้บางกรณีไม่สามารถดำเนินคดีได้ทันทีหรือได้ผลเต็มที่
    • ทำงานภายใต้แรงกดดันและการคาดหวังจากสังคม โดยเฉพาะคดีที่เป็นประเด็นสาธารณะหรือเกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพ
    • มีขั้นตอนการประสานงานหลายฝ่าย ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ทำให้กระบวนการบางอย่างล่าช้าเพราะต้องทำตามกฎระเบียบและกฎหมาย
    • ต้องอัปเดตความรู้และทักษะอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันกับรูปแบบภัยคุกคามใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก
  • ช่องทางบทความที่เกี่ยวกับอาชีพ ตำรวจไซเบอร์
    • GovEntrance Police. (2022, Dec 28). ตำรวจไซเบอร์ หน่วยงานใหม่ที่มาปราบปรามอาชญากรรมบนโลกดิจิทัล [บทความ]. https://www.goventpolice.com/cyber-police/ 
  • ช่องทาง Youtube ที่เกี่ยวกับอาชีพ ตำรวจไซเบอร์
    • Ch7HD. (2021, Nov 5). ตีตรงจุด : กองบัญชาการตำรวจไซเบอร์ มีไว้เพื่ออะไร [Video]. https://www.youtube.com/watch?v=ZK9XsLwS1jM 
  • พี่ต้นแบบอาชีพตำรวจไซเบอร์ [สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2568]