ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน

BRAND'S BRAIN CAMP

ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน

ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ถูกละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญ กฎหมายภายใน และกฎหมายระหว่างประเทศ โดยทำงานเพื่อคุ้มครองเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน 

ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน
  • ให้คำปรึกษาทางกฎหมาย ให้คำปรึกษาแก่ผู้ถูกละเมิดสิทธิ เช่น ถูกฟ้องจากการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ถูกคุกคามโดยเจ้าหน้าที่รัฐ หรือถูกจำกัดเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
  • ว่าความในคดีสิทธิมนุษยชน รับเป็นทนายความในคดีที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพ เช่น คดีชุมนุมทางการเมือง คดีหมิ่นประมาท คดีปกป้องสิทธิชุมชน 
  • รณรงค์เชิงนโยบายและเผยแพร่ความรู้ จัดเวทีเสวนา ร่วมกิจกรรมกับองค์กรสิทธิมนุษยชน และสื่อสารกับสาธารณะเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน
  • เสนอการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ศึกษากฎหมายที่ละเมิดสิทธิและผลักดันให้เกิดการแก้ไข เช่น พ.ร.บ.ความมั่นคง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และกฎหมายควบคุมการชุมนุม
  • ประสานงานกับเครือข่าย ทำงานร่วมกับ NGO นักกิจกรรม ทนายความอาสา และองค์กรระหว่างประเทศ เช่น Amnesty International หรือหน่วยสิทธิมนุษยชนของ UN
  • วิเคราะห์โครงสร้างอำนาจรัฐและกฎหมาย เพื่อเสนอแนวทางปฏิรูปหรือออกกฎหมายใหม่ที่คุ้มครองสิทธิประชาชน 
  • ขับเคลื่อนนโยบายผ่านโครงสร้างทางกฎหมาย สนับสนุนการร่างกฎหมาย ยื่นคำร้อง เปิดผนึก ร้องเรียน และขับเคลื่อนประเด็นสิทธิมนุษยชนในสังคมร่วมกับภาคประชาสังคมและนักวิชาการ
  1. รับแจ้งเหตุหรือคำร้องขอความช่วยเหลือ พิจารณาว่ากรณีที่ร้องเรียนนั้นเกี่ยวข้องกับสิทธิส่วนบุคคลหรือโครงสร้างเชิงระบบ
  2. ตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน ลงพื้นที่หาข้อมูล สัมภาษณ์พยาน หรือขอเอกสารประกอบ
  3. ให้คำปรึกษาด้านสิทธิและกระบวนการทางกฎหมาย อธิบายสิทธิของผู้เสียหายและช่องทางในการดำเนินการทางกฎหมาย
  4. เขียนคำร้อง คำให้การ หรือยื่นฟ้องต่อศาล จัดทำเอกสารทางกฎหมายเพื่อยื่นต่อศาลหรือหน่วยงาน เช่น ก.ส.ย. หรือ ส.ส.
  5. ปรากฏตัวในชั้นศาลหรือเวทีนโยบาย ว่าความในฐานะทนายความ หรือเสนอนโยบายต่อรัฐสภาหรือคณะกรรมาธิการ
  6. ทำรายงานคดีและเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ สรุปข้อเท็จจริงและเผยแพร่ในรูปแบบที่ประชาชนเข้าถึงง่าย เพื่อสร้างการตระหนักรู้
  7. ติดตามผลคดีและผลักดันเชิงนโยบาย เสนอแนวทางป้องกันการละเมิดซ้ำ เช่น การแก้กฎหมายหรือออกนโยบายรองรับ
  8. ค้นหางานวิจัยหรือข้อมูลเชิงวิชาการสนับสนุน ใช้ข้อมูลเพื่อประกอบข้อเรียกร้องให้มีน้ำหนักมากขึ้นในเชิงกฎหมายและนโยบาย
  1. นักกฎหมายมหาชน
  2. นักวิชาการในด้านต่าง ๆ 
  3. ผู้สื่อข่าวสายสิทธิมนุษยชน
  4. ผู้พิพากษา
  5. ตำรวจ
  6. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)
  7. อัยการ
  • สถานที่ทำงาน โดยส่วนใหญ่ทำงานในสำนักงานขององค์กรสิทธิมนุษยชน มูลนิธิ หน่วยงาน NGO สถานีตำรวจ ศาล รัฐสภา โดยอาจต้องทำงานลงพื้นที่จริง เช่น ชุมชนที่ได้รับผลกระทบ ทัณฑสถาน หรือพื้นที่การประท้วง
  • เวลาทำงาน เวลาทำงานไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี ต้องพร้อมเดินทางบ่อย และมีความยืดหยุ่นสูง อาจทำงานกลางคืนหรือวันหยุดหากจำเป็น รวมถึงต้องรับมือกับแรงกดดันจากรัฐหรือคู่ความ
  1. มีความรู้ด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชน ต้องเข้าใจกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายอาญา กฎหมายระหว่างประเทศ และอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน
  2. มีทักษะการเขียนกฎหมายและว่าความ เขียนคำฟ้อง คำร้อง และว่าความในคดีที่ซับซ้อนได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
  3. มีความเข้าใจด้านสังคม การเมือง และโครงสร้างอำนาจรัฐ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาเชิงโครงสร้างและขับเคลื่อนเชิงนโยบาย
  4. มีทักษะการสื่อสาร ทั้งในเชิงวิชาการและต่อสาธารณะ เพื่ออธิบายเรื่องยากให้เข้าใจง่าย
  5. มีทักษะการอ่านและการตีความกฎหมาย ต้องแม่นยำและใช้ถ้อยคำอย่างรอบคอบ
  6. สามารถใช้ภาษาอังกฤษระดับใช้งาน เพื่ออ่านงานทางวิชาการ เอกสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ หรือสื่อสารกับองค์กรต่างชาติ
  7. มีทักษะด้านจิตวิทยาและการรับฟัง เข้าใจผู้เสียหาย รับฟังโดยไม่ตัดสิน และมีความเห็นอกเห็นใจ (Empathy)
  8. มีความอดทน ความกล้า และจริยธรรมวิชาชีพ เพราะต้องเผชิญแรงกดดันจากหลายฝ่าย และยืนหยัดเพื่อสิทธิเสรีภาพ
  9. มีความสามารถในการถกเถียงและตั้งคำถาม พร้อมเผชิญกับความเห็นต่างในประเด็นเปราะบางอย่างสร้างสรรค์
  • ผลตอบแทน  รายได้ขึ้นอยู่กับขนาดองค์กรและประสบการณ์ โดยมักมีรายได้ดังนี้
    • ทนายความใน NGO ขนาดกลาง-เล็ก รายได้อยู่ที่ประมาณ 18,000–35,000 บาท/เดือ
    • ทนายความในองค์กรระหว่างประเทศ เริ่มต้นประมาณ 40,000–70,000 บาท/เดือน หรือมากกว่านั้นในระดับผู้เชี่ยวชาญ
    • งานอิสระ ไม่มีรายได้ประจำ รายได้ขึ้นอยู่กับจำนวนคดีหรือการสนับสนุนจากองค์กรต่างประเทศ ซึ่งบางรายอาจมีรายได้เพียง 3,000 บาท/เดือน จึงต้องทำงานเสริมหรือรับงานหลากหลายเพื่อเลี้ยงชีพ
  • โอกาสและการเติบโตของอาชีพทนายความด้านสิทธิมนุษยชน 
    • เติบโตเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น ทนายความด้านสิทธินักโทษทางการเมือง สิทธิชนกลุ่มน้อย สิทธิผู้ต้องขัง สิทธิทางเพศ ฯลฯ
    • ต่อยอดสู่นักวิจัยหรือนักกฎหมายรัฐสภา ทำงานในระดับนโยบายหรือร่างกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิ
    • ทำงานกับองค์กรสิทธิมนุษยชนระดับนานาชาติ เช่น Amnesty International, Human Rights Watch, UN
    • เป็นผู้ให้ความรู้/วิทยากร ทำงานเชิงสื่อสารกับสาธารณะ เพื่อขยายความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน
  • ความท้าทายของอาชีพทนายความด้านสิทธิมนุษยชน
    • เสี่ยงต่อการถูกคุกคามหรือฟ้องกลับ โดยเฉพาะในคดีที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่รัฐหรือประเด็นทางการเมือง
    • รายได้ไม่แน่นอน โดยเฉพาะในงานอิสระ หรือบางองค์กรที่มีงบจำกัด
    • แรงกดดันทางอุดมการณ์และสังคม ต้องทำงานภายใต้ความขัดแย้งทางความคิดเห็นและทัศนคติของคนในประเทศ
    • ต้องอดทนและมีจริยธรรมสูง เนื่องจากหลายกรณีเกี่ยวข้องกับความรุนแรง ความสูญเสีย หรือความยุติธรรม
    • เวลาทำงานไม่แน่นอนและมีความยืดหยุ่นสูง บางกรณีต้องเดินทางทันที ลงพื้นที่ฉุกเฉิน หรือทำงานล่วงเวลาเพราะคดีมีความเร่งด่วน
  • ช่องทาง Youtube ที่เกี่ยวกับอาชีพทนายความด้านสิทธิมนุษยชน
    • Daybreaker Network. (2024, May 1). EP.3 ฉันคือทนายความสิทธิมนุษยชน! – “นาตาลี” ณัฐาศิริ┃Trial Observation Learning Space [Video]. https://www.youtube.com/watch?v=5HJH1IlBj1Y 
    • Thai PBS. (2016, Sep 27). สร้างแรงบันดาลใจ : ทนายอาสา เพื่อสิทธิมนุษยชน (27 ก.ย. 59) [Video]. https://www.youtube.com/watch?v=xdv083dQqBQ 
  • พี่ต้นแบบอาชีพทนายความด้านสิทธิมนุษยชน [สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2568]