นักตัดต่อ

BRAND'S BRAIN CAMP

นักตัดต่อ

ผู้ทำหน้าที่เรียงลำดับภาพ เสียง เนื้อหาเรื่องราว จากฟุตเทจย่อย ๆ และปรุงแต่งเพิ่มเสียง สี เอฟเฟค เพื่อรวมเป็นสื่อวิดีโอที่เล่าเรื่องราวได้น่าสนใจและตอบโจทย์ความต้องการของผู้รับชม

นักตัดต่อ
  • ตัดต่อและจัดเรียงลำดับภาพ เพื่อการเล่าเรื่องหรือถ่ายทอดสื่อให้ตรงกับการใช้งาน
  • จัดระเบียบ ฟุตเทจ เรียงลำดับจัดชุดข้อมูล คัดแยกมุมภาพที่เหมาะสมกับการใช้งาน
  1. รับโจทย์ในการทำงาน รับโจทย์จากเจ้าของงาน เช่น คลิปวิดีโอสั้น โฆษณา ภาพยนต์ รายการทีวี สารคดี หรือ คลิป Youtube และทำความเข้าใจไอเดีย โทน หรืออารมณ์ที่ต้องการจากชิ้นงาน เพื่อมองภาพปลายทางให้ถูกต้องตรงกับเจ้าของงาน
  2. ศึกษาค้นคว้าข้อมูล ทำการค้นคว้าศึกษารูปแบบวิธีเล่าเรื่องในตลาดและรวบรวมข้อมูล เพื่อหาต้นแบบ หรือไอเดียที่น่าสนใจ ที่เหมาะสมกับการนำเสนอผลงานนั้น ๆ และเตรียมตัวผ่านการหาวัตถุดิบในการนำมาตัดต่อ เช่น เตรียมซาวด์ประกอบ เสียงเอฟเฟค สไตล์ข้อความ หรือ อินเสิร์ทต่าง ๆ  
  3. จัดระเบียบข้อมูลฟุตเตจ นำฟุตเทจที่ได้จากการถ่ายทำ หรือที่จัดเตรียมไว้ให้มาจัดระเบียบให้ง่ายต่อการใช้งาน ด้วยการจัดเป็นชุดตามมุมภาพ ลองเรียบเรียงลำดับภาพหรือการเล่าเรื่องให้เป็นระบบ คัดแยกสื่อที่ใช้ได้หรือไม่ได้ และจดโน้ต ตั้งชื่อ เพื่อให้ง่ายต่อการดึงมาใช้งาน
  4. ตัดต่อร้อยเรียงลำดับภาพ ใช้เวลากับการตัดต่อร้อยเรียงเรื่องราวในสไตล์ของตนเอง เพื่อบอกเล่าภาพออกมาเป็นชิ้นงาน ทบทวนปรับแก้ ค้นหาฟุตเทจหรือวัตถุดิบอินเสิร์ทเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้การเล่าเรื่องน่าสนใจ 
  5. ตรวจงานร่วมกับเจ้าของผลงาน ตรวจสอบความถูกต้องหรือรับฟีดแบคเพื่อปรับแก้ไข เพิ่มลดฉาก หรือปรับวิธีเล่าเรื่อง เพื่อให้ตรงกับความต้องการของชิ้นงาน 
  6. ส่งงานต่อให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ส่งชิ้นงานให้ผู้เชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ ในการเติมแต่งหรือปรับชิ้นงานให้สมบูรณ์มากขึ้น เช่น ทีมภาพ CGI, ทีมปรับแต่งเสียงพูด, เพิ่มเพลงประกอบ หรือคุมการย้อมสีภาพ เพื่อปรับโทน เป็นต้น
  7. ปรับชิ้นงานให้เสร็จสมบูรณ์เพื่อส่งมอบ ตรวจสอบและปรับแต่ง รวมไปถึงการตัดต่อเสริมเพิ่มเติม เช่น การแทรกฉาก จากการถ่ายทำซ่อม เพิ่มลด ตัดตอนภาพ เพื่อควบคุมให้อยู่ในเวลาของงาน จนเสร็จเป็นชิ้นงานเพื่อจัดทำเป็นไฟล์ส่งมอบให้ผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป
  1. ผู้กำกับ
  2. นักเขียนบท
  3. โปรดิวเซอร์
  4. ครีเอทีฟ
  5. ผู้จัดการลูกค้า (Account Executive)
  6. กราฟิกดีไซน์ 
  7. วิศวกรเสียง (Sound Engineer) 
  8. นักแก้สี (Colorist)
  • สถานที่ทำงาน โดยทั่วไปนักตัดต่อทำงานใน โปรดักชั่นเฮ้าส์ สตูดิโอ สถานีโทรทัศน์ ออฟฟิศหรือสำนักงานของบริษัทกลุ่มผลิตสื่อ เช่น เอเจนซี่ บริษัทผลิตสื่อโฆษณา  
  • สามารถรับเป็นงานฟรีแลนซ์ส่วนตัวที่บ้านพักหากทำเป็นโปรเจกต์ขนาดเล็ก 
  • เวลาทำงาน เวลาทำงานโดยปกติขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละองค์กร โดยทั่วไปมักทำงานในเวลา 9.00 – 18.00 น. วันจันทร์ – ศุกร์​  แต่โดยปกติมักทำงานไม่เป็นเวลา หรือไม่ได้เคร่งครัด ตามความสะดวกหรือสไตล์การทำงานของแต่ละบุคคล โดยอาจคำนึงถึงเวลาที่เหมาะสมกับผู้ร่วมงานและกำหนดส่งชิ้นงาน
  1. ความรู้พื้นฐานด้านการตัดต่อและการใช้เครื่องมือตัดต่อ เช่น โปรแกรม Adobe  Premiere Pro DaVinci Resolve Final Cut หรือ CapCut
  2. ความรู้พื้นฐานด้านกระบวนการถ่ายทำรวมไปถึงการทำงานของอุปกรณ์โปรดักชั่นต่าง ๆ เช่นกล้องวิดีโอ อุปกรณ์บันทึกเสียง
  3. ทักษะด้านการเล่าเรื่อง (Storytelling) และครีเอทีฟ (Creative) เพื่อช่วยเรียบเรียงการเล่าเรื่องให้แปลกใหม่น่าติดตาม
  4. ทักษะด้านการบริหารจัดการข้อมูลจำนวนมาก ในการจัดการชุดข้อมูลสื่อดิบได้อย่างเป็นระบบ
  5. ทักษะที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น กราฟิกดีไซน์ CGI การปรับแต่งเสียงหรือสีเบื้องต้น
  • ผลตอบแทน เงินเดือนขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และความรับผิดชอบ 
    • เงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 15,000 – 30,000 บาท/เดือน 
    • สำหรับผู้มีประสบการณ์มากกว่า 3-5 ปี หรือทำงานในบริษัทใหญ่ อาจมีรายได้ 30,000 – 60,000 บาท/เดือน
    • หากรับงานเป็นชิ้นงาน หรือไม่ได้สังกัดกับองค์กร ผลตอบแทนอาจขึ้นอยู่กับรูปแบบของชิ้นงานและความรับผิดชอบ เช่น งาน Vlog หรือคลิปสั้นทั่วไป อาจอยู่ที่ชิ้นงานละ 3,500 – 10,000 บาท โปรดักชั่นโฆษณา 10,000 – 30,000 ละครหรือรายการโทรทัศน์ ต่อหนึ่งตอน 4,500 – 12,000 เป็นต้น
    • อาจมีรายได้จากหลายช่องทางได้ผ่านการรับงานเสริม แต่ต้องขึ้นอยู่กับการจัดสรรเวลาของตัวเองและนโยบายของแต่ละองค์กรด้วย
  • โอกาสและการเติบโตของอาชีพนักตัดต่อ
    • เติบโตในสายงาน เติบโตตามประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ  และเลื่อนตำแหน่งในขั้นที่สูงกว่า โดยอาจแยกได้เป็น
      • นักตัดต่ออาวุโส (Senior Editor) เพื่อดูภาพรวมของทีม 
      • ผู้เชี่ยวชาญในสาขาเฉพาะ เช่น การตัดต่อ CGI 
      • เติบโตไปตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้กำกับ โปรดิวเซอร์ 
    • ก่อตั้งองค์กรของตนเอง เติบโตเป็นเจ้าของโปรดักชั่นเฮาส์ ควบคุมทีม และรับงานจากองค์กรอื่น ๆ
  • ความท้าทายของอาชีพนักตัดต่อ
    • การมีจุดเด่นหรือจุดแข็ง อาชีพนักตัดต่อมีคู่แข่งในตลาดมาก ต้องมีจุดแข็งที่ทำให้โดดเด่นหรือแตกต่างจากคนอื่น นักตัดต่อแต่ละคนมีสไตล์ที่แตกต่างกัน หรืออาจมีความถนัดในการตัดต่อสื่อในรูปแบบเฉพาะที่ไม่เหมือนกันได้ เช่นสายสื่อโฆษณา หรือสายมิวสิควิดีโอ
    • การจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก และ ความอดทน นักตัดต่อต้องทำงานกับปริมาณงานจำนวนมากได้อย่างเป็นระบบ และต้องสามารถจดจ่ออยู่กับงานเป็นเวลานาน ๆ ได้ ในหลาย ๆ ครั้ง ชิ้นงานเล็ก ๆ ชิ้นหนึ่งอาจกินเวลาได้หลายวัน
    • การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า นักตัดต่ออาจเจอเหตุการณ์ที่ต้องหาวิธีแก้ไขด้วยตนเอง เช่น สื่อดิบหรือฟุตเทจเสีย ไม่มีฉากหรือมุมกล้องที่เหมาะสมในการเล่าเรื่อง หรือมีการปรับแก้ลำดับเรื่อง
    • การปรับตัวให้ทันยุค นักตัดต่อต้องอัปเดตความรู้และทักษะในสายงานเสมอ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่การตัดต่อเป็นทักษะที่คนสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้นผ่านโปรแกรมตัวช่วยหรือ AI  รวมไปถึงการปรับตัวและติดตามให้ทันกับเทรนด์และพฤติกรรมการเสพสื่อ เพื่อพัฒนาสไตล์ให้ตรงกับความสนใจของผู้รับชม
  • ช่องทาง Youtube ที่เกี่ยวกับอาชีพ นักตัดต่อ
  • พี่ต้นแบบอาชีพนักตัดต่อ [สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2568]