ที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor)

BRAND'S BRAIN CAMP

ที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor)

ผู้เชี่ยวชาญที่ให้คำแนะนำ วางแผน และจัดการเรื่องงบการเงินส่วนบุคคลหรือองค์กรอย่างรอบด้าน เพื่อช่วยจัดการเป้าหมายทางการเงินในระยะสั้นและระยะยาวอย่างมีประสิทธิภาพ

ที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor)
  • ให้คำปรึกษาทางการเงินด้านต่าง ๆ เช่น การออม การลงทุน การวางแผนเกษียณ การวางแผนภาษี การจัดการหนี้สิน ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ฯลฯ
  • วิเคราะห์สถานะทางการเงินของผู้ใช้บริการและทำความเข้าใจเป้าหมายทางการเงิน
  • พัฒนาแผนทางการเงินส่วนบุคคล ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และระยะเวลาที่สอดคล้องกับเป้าหมาย
  • ช่วยผู้ใช้บริการในการตัดสินใจทางการเงิน และติดตามผลการดำเนินงาน รวมถึงให้คำแนะนำในการปรับปรุงเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลง
  1. รวบรวมข้อมูลและทำความเข้าใจผู้ใช้บริการ ทำความเข้าใจเป้าหมาย ความต้องการ และสถานการณ์ทางการเงินของผู้ใช้บริการ เช่น ต้องการวางแผนเกษียณอายุ ต้องการวางแผนภาษี จากนั้นเก็บรวบรวมข้อมูลทางการเงินที่จำเป็น เช่น รายได้ ค่าใช้จ่าย สินทรัพย์ หนี้สิน และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
  2. วิเคราะห์ ประเมิน และพัฒนาแผนทางการเงิน วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ ประเมินสถานะทางการเงินปัจจุบัน และระบุโอกาสและความท้าทายทางที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อออกแบบและจัดทำแผนทางการเงินที่เหมาะสม
  3. ให้คำแนะนำทางการเงิน นำเสนอแผนและให้คำแนะนำ โดยอาจรวมไปถึงการให้คำปรึกษาในการจัดการเงินในสถานการณ์ปัจจุบัน  หรือนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสมกับเป้าหมาย เช่น กองทุน หุ้น 
  4. ช่วยเหลือในการทำธุรกรรม ช่วยผู้ใช้บริการทำตามแผนทางการเงิน โดยอาจรวมไปถึงการ เปิดบัญชี ลงทุน หรือดำเนินการอื่น ๆ
  5. ติดตามผลและบริการหลังการขาย ติดตามผลและคอยปรับปรุงแผนกับผู้ใช้บริการสม่ำเสมอรวมไปถึงการช่วยเหลือ ตอบข้อสงสัย หรือให้ข้อมูลทางการเงินเพิ่มเติม
  1. นักวิเคราะห์หลักทรัพย์
  2. ผู้จัดการกองทุน
  3. ตัวแทนประกันชีวิต
  4. นักวางแผนภาษี
  5. เจ้าหน้าที่หลักทรัพย์
  6. นักกฎหมาย
  • สถานที่ทำงาน ส่วนใหญ่ทำงานในสำนักงานของบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกันชีวิต ธนาคาร บริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน หรือประจำอยู่ตามองค์กรต่าง ๆ โดยอาจมีการนัดหมายลูกค้าภายนอกสถานที่หากทำงานรับปรึกษากับบุคคลนอกองค์กร
  • เวลาทำงาน เวลาทำงานขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละองค์กร โดยทั่วไปมักทำงานในเวลา 9.00 – 18.00 น. วันจันทร์ – ศุกร์​  หยุดวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ แต่ต้องมีความยืดหยุ่นรองรับการนัดหมายนอกเวลาด้วยตามความเหมาะสม
  1. ความรู้เชิงลึกด้านการเงินและการลงทุน
  2. ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์และกฎหมายรวมถึงข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
  3. ทักษะการวิเคราะห์คาดการแนวโน้มตลาด การประเมินความเสี่ยง
  4. ทักษะการวางแผน จัดระบบ
  5. ทักษะการสื่อสารและการนำเสนอแนวคิดที่อาจยาก ซับซ้อนให้เข้าใจง่าย  
  6. ทักษะการโน้มน้าวใจ
  • ผลตอบแทน เงินเดือนขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และความรับผิดชอบ อาจเป็นเงินเดือนประจำ ค่าคอมมิชชั่นจากผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่แนะนำ หรือค่าธรรมเนียมในการให้คำปรึกษา ขึ้นอยู่กับองค์กรและประเภทของการให้คำปรึกษา
    • เงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 20,000 – 35,000 บาท/เดือน
    • สำหรับผู้มีประสบการณ์มากกว่า 3-5 ปี อาจมีรายได้ 40,000 – 100,000 บาท/เดือน หรือมากกว่า
    • สำหรับที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ รายได้จะขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ใช้บริการและมูลค่าสินทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การดูแล
  • โอกาสและการเติบโตของอาชีพที่ปรึกษาทางการเงิน
    • เติบโตในสายงาน สามารถเติบโตเป็นที่ปรึกษาทางการเงินอาวุโส ผู้บริหารทีม หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (เช่น การวางแผนเกษียณ การวางแผนภาษี)
    • การเปิดธุรกิจส่วนตัว สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์และฐานผู้ใช้บริการมั่นคงแล้ว อาจเริ่มต้นธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงินของตนเองได้
    • พฤติกรรมคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไป  คนรุ่นใหม่เริ่มหันมาสนใจการวางแผนทางการเงินมากขึ้น ทำให้อาชีพที่ปรึกษาทางการเงินเป็นที่ต้องการมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ ในขณะเดียวกันกาารเข้ามาของ AI และ Robo-advisor ทำให้ผู้ที่จะเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ต้องมีทักษะด้าน Soft skill และ ความเข้าใจเชิงลึกมากขึ้น
  • ความท้าทายของอาชีพที่ปรึกษาทางการเงิน
    • ความผันผวนของตลาด ที่ปรึกษาทางการเงินต้องสามารถให้คำแนะนำลูกค้าได้อย่างเหมาะสมแม้ในสภาวะตลาดที่ไม่แน่นอน และต้องหมั่นติดตามข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
    • การสร้างความไว้วางใจและรับผิดชอบ ความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นสิ่งแรกที่ปรึกษาทางการเงินจะต้องสร้างให้ได้ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการจัดการเงินของผู้อื่น รวมถึงเป็นการจัดการข้อมูลที่ละเอียดอ่อนและมีความเสี่ยง ทำให้ต้องได้รับการไว้วางใจอย่างมาก รวมไปถึงต้องรับมือกับผลกระทบที่ได้รับจากการให้คำปรึกษาได้  รวมถึงอาจส่งผลเสียระยะยาวทางอาชีพได้
  • ช่องทาง Youtube ที่เกี่ยวกับอาชีพที่ปรึกษาทางการเงิน
    • Non Kunanon. (2022, Mar 17). ทำไมผมถึงมาเป็น “ที่ปรึกษาการเงิน” l My FA Journey ep1. https://youtu.be/Hln48JcN2dI
    • FINNOMENA. (2022, Jul 21). Financial Advisor Podcast SS3 Ep:1 “Why FA?: อาชีพใหม่ในยุค New Normal”. https://youtu.be/MATmRLLOFN8
  • พี่ต้นแบบอาชีพที่ปรึกษาทางการเงิน [สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2568]