IOT Engineer

BRAND'S BRAIN CAMP

IOT Engineer

ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาระบบ Internet of Things หรือ ระบบที่อุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้  โดยผสานองค์ความรู้ด้านอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ เซนเซอร์ และระบบเครือข่าย เพื่อให้เกิดการสื่อสารและประมวลผลข้อมูลแบบเรียลไทม์ 

IOT Engineer
  • วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของลูกค้า เพื่อออกแบบระบบ IoT ที่ตอบโจทย์ทั้งด้านธุรกิจและเทคนิค
  • ออกแบบและสร้างระบบ ครอบคลุมทั้งฮาร์ดแวร์ (เซ็นเซอร์, Controller), ซอฟต์แวร์ฝั่งผู้ใช้ (Dashboard), และระบบ Cloud
  • ทดสอบและวิเคราะห์ ประสิทธิภาพของระบบเพื่อนำไปใช้งานจริง
  • ติดตั้งระบบในสถานที่ปฏิบัติงานจริง 
  • ให้คำปรึกษา กับผู้ใช้งาน เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หรือเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
  • อัปเดตระบบ ตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีหรือความต้องการขององค์กร
  1. รับโจทย์และวิเคราะห์ความต้องการ ทำความเข้าใจเป้าหมายของลูกค้า ประเมินข้อจำกัด และแปลงเป็นข้อกำหนดทางเทคนิค
  2. ออกแบบระบบ IoT วางแผนฮาร์ดแวร์ เครือข่ายสื่อสาร และระบบซอฟต์แวร์
  3. พัฒนาโค้ดฝังตัวและคลาวด์ซอฟต์แวร์ เขียนโปรแกรมให้เซ็นเซอร์ทำงานได้จริง และเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูลหรือแดชบอร์ด
  4. ทดสอบในห้องปฏิบัติการ ทดสอบระบบจำลอง ตรวจสอบการรับ-ส่งข้อมูล ความเสถียร และความแม่นยำ
  5. ติดตั้งจริงและอบรมผู้ใช้งาน นำระบบไปติดตั้งในสถานที่จริง พร้อมสาธิตการใช้งาน และส่งมอบระบบให้ลูกค้า
  6. ดูแลระบบและอัปเดตหลังใช้งาน ตรวจสอบข้อมูลการใช้งานจริง แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และอัปเดตซอฟต์แวร์เมื่อจำเป็น
  1. นักทดสอบระบบ 
  2. วิศวกรซอฟต์แวร์
  3. ผู้จัดการโครงการ (Project Manager)
  4. เจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย
  5. Account Executive
  • สถานที่ทำงาน ทำงานในองค์กรที่ต้องการพัฒนาระบบอัจฉริยะ โดยใช้เซ็นเซอร์ อุปกรณ์ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาเชื่อมต่อสิ่งของต่าง ๆ ให้สามารถสื่อสารและทำงานได้แบบอัตโนมัติ สถานที่ทำงานของวิศวกร IoT มักอยู่ในบริษัทเทคโนโลยี โรงงานอุตสาหกรรม ศูนย์วิจัย บริษัทสตาร์ตอัปด้าน Smart Home เป็นต้น 
  • เวลาทำงาน เวลาทำงานปกติจันทร์–ศุกร์ ประมาณ 9:00–18:00 น. หากทำงานด้านวางระบบหรือทดลองอุปกรณ์ อาจต้องทำงานตามเวลาของไซต์งานหรือเข้าเวรเมื่อติดตั้งและดูแลระบบ โดยเฉพาะในโรงงานหรือองค์กรที่ระบบทำงานตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนบางตำแหน่งที่เน้นงานพัฒนาโปรแกรมหรือวิเคราะห์ข้อมูล อาจทำงานยืดหยุ่นหรือทำงานจากที่บ้านได้เช่นกัน
  1. ความรู้ด้านอิเล็กทรอนิกส์และระบบฝังตัว เข้าใจการทำงานของวงจรไฟฟ้า เซ็นเซอร์ อุปกรณ์ MCU (Microcontroller Unit) และการเคลือบหรือปกป้องแผงวงจร (PCB) สำหรับงานจริงในสนาม
  2. ทักษะเขียนโปรแกรม สามารถเขียนโค้ดควบคุมอุปกรณ์โดยใช้ภาษายอดนิยมในสาย IoT สำหรับประมวลผลข้อมูล
  3. ความเข้าใจระบบเครือข่ายและโปรโตคอล IoT รู้จักการเชื่อมต่ออุปกรณ์ผ่าน Wi-Fi หรือโปรโตคอลที่ใช้สื่อสารข้อมูลในระบบ IoT
  4. ความรู้ด้านระบบคลาวด์และการสื่อสารข้อมูล เข้าใจวิธีเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้ากับคลาวด์เพื่อรับ-ส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ ติดตามสถานะ และจัดเก็บข้อมูลสำหรับวิเคราะห์
  5. ทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและปรับจูนระบบ วิเคราะห์ข้อมูลจากเซ็นเซอร์ เช่น อุณหภูมิ แรงดัน ความชื้น แล้วประเมินประสิทธิภาพของระบบเพื่อนำไปปรับแต่งให้เสถียรและแม่นยำ
  6. ความสามารถด้านการบริหารโครงการ จัดสรรเวลาและทรัพยากรในแต่ละเฟสของโปรเจกต์ จัดการงบประมาณ ประสานทีมฮาร์ดแวร์/ซอฟต์แวร์ และติดตามความคืบหน้า
  7. ทักษะการเจรจาและการสื่อสาร ต้องสามารถอธิบายเทคโนโลยีให้เข้าใจง่าย และเจรจาเงื่อนไขได้อย่างมืออาชีพ
  • ผลตอบแทน รายได้ของวิศวกร IoT ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งระดับประสบการณ์ สถานที่ทำงาน ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และขนาดขององค์กร 
    • ระดับเริ่มต้น (Junior IoT Enginee) เงินเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 25,000 – 40,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับวุฒิการศึกษา ทักษะเฉพาะทาง และขนาดของบริษัท
    • ระดับกลาง  (Mid-level) เงินเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 40,000 – 60,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับวุฒิการศึกษา ทักษะเฉพาะทาง และขนาดของบริษัท
    • ระดับอาวุโส (Senior) เงินเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 80,000 – 120,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับวุฒิการศึกษา ทักษะเฉพาะทาง และขนาดของบริษัท  
    • หากมีประสบการณ์มากขึ้น มีทักษะเฉพาะทาง เช่น การเขียนโปรแกรมฝังตัว การเชื่อมต่อกับคลาวด์ หรือความรู้ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ รายได้ก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
    • การทำงานในบริษัทขนาดใหญ่หรือองค์กรที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เช่น บริษัทโทรคมนาคม โรงงานอุตสาหกรรมอัจฉริยะ หรือบริษัทข้ามชาติ มักมีค่าตอบแทนที่สูงกว่าองค์กรทั่วไป 
    • บางคนอาจมีรายได้เพิ่มจากการทำงานเป็นฟรีแลนซ์ รับพัฒนาโปรเจกต์เฉพาะ หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ IoT ของตัวเองขายก็ได้เช่นกัน
    • ประเทศไทยและโลกกำลังเข้าสู่ยุคของเมืองอัจฉริยะและระบบอัตโนมัติในแทบทุกอุตสาหกรรม ทำให้ความต้องการวิศวกร IoT เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และรายได้ของสายงานนี้จึงมีแนวโน้มสูงขึ้นตามไปด้วยในระยะยาว
  • โอกาสและการเติบโตของอาชีพวิศวกร IoT
    • เติบโตตามสายงาน วิศวกร IoT สามารถเริ่มต้นจากตำแหน่งระดับจูเนียร์ เรียนรู้การพัฒนาอุปกรณ์และระบบพื้นฐาน แล้วค่อย ๆ เติบโตสู่ระดับกลาง และอาวุโสที่สามารถออกแบบระบบ IoT ทั้งชุดได้เอง เช่น การวางแผนเชิงเทคนิค การเลือกเทคโนโลยี และการแก้ปัญหาในระบบที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น หากสนใจสายเทคโนโลยีเฉพาะทาง ก็สามารถพัฒนาไปเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน AIoT (การผสาน AI กับ IoT), ความปลอดภัยไซเบอร์ของอุปกรณ์เชื่อมต่อ หรือระบบประมวลผลที่ทำงานแบบ edge computing ได้
    • เติบโตไปสู่สายบริหาร เริ่มจากการเป็นหัวหน้าทีม หรือโปรเจกต์แมเนเจอร์ ไปจนถึงผู้จัดการฝ่ายนวัตกรรม หรือหัวหน้าส่วนงาน IoT ขององค์กร ซึ่งต้องใช้ทั้งความเข้าใจเทคนิคและทักษะการบริหารโครงการ การทำงานร่วมกับทีมข้ามสายงาน และการวางกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยี
    • ขยับขยายไปสู่งานที่เกี่ยวข้อง เช่น การเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรอื่น การเป็นนักพัฒนาในสตาร์ตอัปที่สร้างผลิตภัณฑ์ IoT ใหม่ ๆ หรือแม้แต่การทำงานด้านการสอน วิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันฝึกอบรม เทคโนโลยี IoT เป็นเทคโนโลยีที่อยู่ในหลายภาคส่วน จึงเปิดโอกาสให้พัฒนาตนเองได้ในหลากหลายทิศทางทั้งเชิงลึกและกว้าง
  • ความท้าทายของอาชีพวิศวกร IoT
    • ต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่อย่างต่อเนื่อง เช่น Edge AI, 5G Integration, Cybersecurity, และมาตรฐาน IoT ใหม่ ๆ ที่เปลี่ยนเร็วมาก
    • ระบบ IoT ครอบคลุมหลากหลายองค์ความรู้ ทั้งฮาร์ดแวร์ (Hardware), เฟิร์มแวร์ (Firmware), ซอฟต์แวร์ (Cloud/Apps), ความปลอดภัย และ Data Analysis ซึ่งต้องเข้าใจและประสานงานให้ครบทุกมิติ
    • ความไม่แน่นอนของโปรเจกต์ภาคสนาม การติดตั้งระบบในสถานที่จริงอาจพบข้อจำกัดเฉพาะ เช่น สภาพแวดล้อมไฟฟ้า, สัญญาณเครือข่าย, หรือข้อกำหนดของผู้ใช้งานเฉพาะกลุ่ม
    • มีความเสี่ยงเรื่อง ความปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity) หากระบบโดนแฮก
  • ช่องทาง Youtube ที่เกี่ยวกับอาชีพวิศวกร IoT
    • Chula Radio Plus. (2019, Jan 10). เปิดบ้านหลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ จุฬาฯ | รายการพูดจาประสาช่าง [Video]. https://www.youtube.com/watch?v=1trGYCoR7kA 
    • GA Kmitl. (2024, Oct 25). Ep.38 หลักสูตร Physiot KMITL – Physics and IoT System Engineering, Dual Degree Program [Video]. https://www.youtube.com/watch?v=CC2coMb34ok
  • มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. (n.d.). วิศวกรรม IoT คืออะไร มาทำความรู้จักกันเถอะ!. https://app.sau.ac.th/what-is-iot-engineering 
  • Department of IoT and Information Engineering. (n.d.). วิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศคืออะไร ?. https://www.iote.kmitl.ac.th/about-iote/