นักเขียนบท ละคร/ซีรีส์/ภาพยนตร์/podcast 

BRAND'S BRAIN CAMP

นักเขียนบท ละคร/ซีรีส์/ภาพยนตร์/podcast 

ผู้ออกแบบและเขียนเรื่องราวออกมาเป็นสื่อหลากหลายรูปแบบ เช่น ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ นวนิยาย เรื่องสั้น ละครวิทยุ เป็นต้น

นักเขียนบท ละคร/ซีรีส์/ภาพยนตร์/podcast
  • ศึกษาประเด็นและเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อนำมาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ 
  • เขียนทรีตเมนต์ (Treatment) เพื่อใช้ในการนำเสนอไอเดีย เช่น เสนอให้โปรดิวเซอร์ พิจารณาก่อนอนุมัติงบเขียนบทเต็ม หรือใช้ในการพัฒนาไอเดียร่วมกับทีม เช่น ผู้กำกับหรือ Showrunner โดยทรีตเมนต์จะเป็นการอธิบายว่าเรื่องจะเริ่มต้นอย่างไร มีโครงเรื่องแบบไหน ตัวละครหลักมีใครบ้าง มีปม-จุดพีค-ตอนจบอย่างไร
  • เขียนบทเต็ม (Screenplay/Script Writing) จัดรูปแบบบทตามมาตรฐานอุตสาหกรรม (เช่น slugline, action, dialogue) 
  • ปรับปรุงและพัฒนาบทตามความเห็นของโปรดิวเซอร์ ผู้กำกับ หรือลูกค้า
  • ประชุมกับผู้กำกับ โปรดิวเซอร์ ทีมสร้างสรรค์ เพื่อเข้าใจวิสัยทัศน์ของงาน
  1. รับบรีฟประเด็น/โจทย์/แนวคิดจากผู้จ้างงาน หากเป็นงานจ้าง  ผู้ว่าจ้าง (โปรดิวเซอร์ / ครีเอทีฟ / ทีมพัฒนาคอนเทนต์) จะให้หัวข้อ แนวทาง ประเด็นหลัก กลุ่มเป้าหมาย และแพลตฟอร์มที่เผยแพร่
    หากเป็นโปรเจกต์ส่วนตัวนักเขียนอาจเริ่มจาก “แรงบันดาลใจ” หรือประเด็นที่อยากพูด (เช่น เพศ ความสัมพันธ์ ชนชั้น ฯลฯ) แล้วค่อยพัฒนาเรื่อง
  2. ตีความโจทย์และพัฒนา  สกัดเนื้อหาหลักออกมาเป็นไอเดียสั้น ๆ เพียง 1–2 ประโยค ที่บอกว่าเรื่องนี้เกี่ยวกับอะไร
  3. เขียนเรื่องย่อละเอียด (Synopsis) ขยาย Logline ให้เป็นเรื่องย่อโดยคร่าว ๆ (1–2 หน้า) เล่าโครงสร้างเรื่องทั้งหมดโดยไม่มีบทพูด 
  4. เขียน Treatment (ถ้ามี) บางกรณีนักเขียนอาจต้องใช้ Treatment แทน Synopsis ถ้าเรื่องยาวหรือซับซ้อน เป็นขั้นตอนเสริมเพื่อขยายภาพรวมของเรื่องพร้อมอารมณ์ บรรยากาศ พัฒนาการตัวละครและไคลแมกซ์ มักใช้ในการเสนอกับผู้ร่วมทุนหรือส่งประกวดโครงการพัฒนาบท
  5. เขียนบทภาพยนตร์และบทละคร (Screenplay)  โดยใช้ฟอร์แมตบทมาตรฐาน ต้องมีทั้งบทสนทนา คำบรรยายฉาก ลำดับเวลา บทพูดต้องสะท้อนบุคลิกของตัวละคร
  6. นำเสนอให้กับนายทุนหรือโครงการพัฒนาภาพยนตร์ต่าง ๆ ในกรณีที่ยังไม่มีเงินทุน  นักเขียนบทต้องเตรียม “พอร์ต” หรือ “โปรเจกต์ไฟล์” ไปเสนอกับโปรดิวเซอร์ นายทุน ค่ายผลิต
  7. ปรับแก้ไขบทภาพยนตร์  ปรับบทตามข้อเสนอจากโปรดิวเซอร์/ผู้กำกับ เช่น ปรับจังหวะ ปรับบทพูด ลดหรือตัดฉากที่ไม่จำเป็น 
  8. พัฒนาบทจนพร้อมสำหรับการถ่ายทำ บทนี้จะถูกใช้จริงในกองถ่าย มีการล็อกฉาก ล็อกหน้ากระดาษ ลำดับชัดเจน
  1. ผู้กำกับภาพยนตร์
  2. โปรดิวเซอร์
  3. นักแสดง
  4. ฝ่ายจัดหานักแสดง
  • สถานที่ทำงาน โดยทั่วไปสามารถทำงานที่บ้านได้ ยกเว้นแต่ลูกค้าขอนัดประชุมนอกสถานที่ / หากมีการถ่ายทำภาพยนต์ ก็สามารถออกไปช่วยหน้ากองถ่ายเพื่อให้การถ่ายทำออกมาอย่างไหลลื่น 
  • เวลาทำงาน ไม่มีเวลาทำงานที่ตายตัว
  1. ความรู้ด้านการเขียนบท
  2. ความรู้ด้านภาพยนตร์และละคร เช่น เข้าใจจังหวะภาพ การเล่าเรื่องด้วยภาพ
  3. ความรู้ด้านจิตวิทยา เข้าใจความรู้สึก ความซับซ้อนของมนุษย์ เพื่อเขียนตัวละครที่มีมิติ
  4. ความรู้พื้นฐานด้านการผลิต เข้าใจข้อจำกัดของงบประมาณ โลเคชัน เวลา เพื่อเขียนบทที่ “ถ่ายทำได้จริง”
  5. ความรู้ด้านสังคมและวัฒนธรรม เพื่อนำไปสู่การเขียนเรื่องที่ร่วมสมัย หลากหลาย และไม่เหยียดอัตลักษณ์ผู้อื่น
  6. ความสามารถในการใช้ภาษา
  • ผลตอบแทน แตกต่างออกไปในแต่ละรูปแบบชิ้นงานและการสะสมประสบการณ์ ชื่อเสียง
    • สำหรับละครโทรทัศน์ อยูู่ที่ประมาณ 30,000 – 50,000 บาท / ชิ้น ในขณะที่ภาพยนตร์ได้ค่าตอบแทนประมาณ 3% จากทุนสร้างทั้งหมด
    • นอกจากนี้ ยังมีผลตอบแทนในรูปแบบอื่นตามการตกลง เช่น ส่วนแบ่งลิขสิทธิ์ ลิขสิทธิ์บทประพันธ์ และส่วนแบ่งยอดขายนิยาย (หากมีการดัดแปลงเป็นนิยายต่อ)
  • โอกาสและการเติบโตของอาชีพนักเขียนบทละคร 
    • เติบโตไปเป็นผู้กำกับ สามารถพัฒนาตนเองไปเป็นผู้กำกับ หรือผู้จัดละครได้ในอนาคต 
    • ทำงานกับบริษัทโปรดักชั่นต่างประเทศ มีโอกาสที่ทำให้ภาพยนตร์เติบโต และสามารถถ่ายทอดเรื่องราวไปสู่สายตาชาวโลกได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น 
  • ความท้าทายของอาชีพนักเขียนบทละคร 
    • การสร้างความแปลกใหม่ให้กับบทละคร เพราะงานแต่ละงานไม่เคยซ้ำเดิม นักเขียนบทจะต้องคิดให้แตกต่างออกไปจากเดิมเสมอ ไม่มีแบบแผนหรือสูตรสำเร็จตายตัว
    • รายได้ไม่แน่นอน โดยเฉพาะในช่วงที่ไม่มีโปรเจกต์ หรือละครไม่ได้รับการผลิต ดังนั้นจึงต้องทำงานให้มีเงินสะสมเตรียมไว้ระหว่างรองาน
  • ช่องทาง Youtube ที่เกี่ยวกับอาชีพนักเขียนบทละคร 
    • Thomas Flight. (2011, Aug 31). https://www.youtube.com/@ThomasFlight/videos 

      (นักทำ โครงเรื่อง เล่ามุมมองต่าง ๆ เกี่ยวกับภาพยนตร์ ) 

  • พี่ต้นแบบอาชีพนักเขียนบทละคร  [กรอกข้อมูลเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2568]