นักกฎหมายในบริษัทเอกชน

BRAND'S BRAIN CAMP

นักกฎหมายในบริษัทเอกชน

ผู้ที่ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายภายในองค์กร ช่วยตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารทางกฎหมาย ดูแลการทำสัญญาทางธุรกิจ และช่วยให้องค์กรดำเนินงานได้ถูกต้องตามกฎหมายและลดความเสี่ยงทางกฎหมาย

นักกฎหมายในบริษัทเอกชน
  • ตรวจสอบเอกสารและสัญญาทางกฎหมาย เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญาจ้าง สัญญาเช่า ฯลฯ
  • ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่ฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กร
  • จัดการข้อพิพาททางกฎหมาย ช่วยไกล่เกลี่ยปัญหาภายใน หากมีคดีความจำเป็นจะต้องสู้คดีให้กับทางองค์กรด้วย 
  • จัดอบรมภายในเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 
  • ติดตามกฎหมายใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
  1. รับเรื่องหรือปัญหาทางกฎหมายจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องหรือพาร์ทเนอร์ของบริษัท
  2. ศึกษาและวิเคราะห์ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็น หรือคดีเหล่านั้น
  3. ตรวจสอบหรือร่างเอกสาร สัญญาให้ถูกต้องตามกฎหมาย 
  4. ประชุมหรือให้คำปรึกษากับฝ่ายที่เกี่ยวข้องหรือพาร์ทเนอร์ของบริษัท
  5. ดำเนินการตามกระบวนการกฏหมายหรือประสานงานกับทนายความนอก เพื่อหาข้อสรุปหรือพิจารณาสู้คดีเพิ่มเติมสำเร็จ หากมีข้อพิพาท
  • ผู้ประกอบการ
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อและจัดจ้าง 
  • เจ้าหน้าทีฝ่ายขาย
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชี 
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด/สื่อสารองค์กร
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR)
  • ทนายความ / ที่ปรึกษากฎหมายภายนอก
  • เลขานุการ / ผู้ช่วยทนายความ
  • เจ้าหน้าทีหน่วยงานราชการ เช่น กรมสรรพากร สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ศาล ธนาคาร
  • สถานที่ทำงาน บริษัทเอกชนขนาดต่างๆ เช่น เล็ก กลาง ใหญ่ , บริษัทกฎหมายที่ให้บริการที่ปรึกษากฎหมายแบบ Outsource, ธุรกิจข้ามชาติ หรือสตาร์ทอัปที่มีนโยบายการปฏิบัติตามกฎหมาย หน่วยงานราชการ ต่างๆ เช่น กรมสรรพากร สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ศาล ธนาคาร บริษัทของลูกค้าหรือพาร์ทเนอร์
  • เวลาทำงาน วันจันทร์ – ศุกร์ เวลาราชการ 9.00 – 18.00 น. อาจมีการทำงานล่วงเวลา เนื่องจากต้องทำการศึกษากฏหมาย วิเคราะห์เนื้อหาเพิ่มเติม และอาจมีความรับผิดชอบเพิม ในช่วงที่มีดีลทางธุรกิจ คดีความ หรือการปรับกฎหมายใหม่
  1. ความรู้ด้านกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายแรงงาน กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
  2. ทักษะการคิดและสื่อสารอย่างเป็นระบบ
  3. ทักษะการวิเคราะห์ การตีความข้อกฎหมาย
  4. ความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และกฏหมายใหม่อยู่เสมอ 
  5. ความสามารถในการเจรจา ต่อรอง และสื่อสารอย่างมืออาชีพ
  6. ทักษะด้านภาษาอังกฤษ (โดยเฉพาะการอ่านและร่างสัญญา) 
  7. ทักษะการสื่อสาร อธิบายเป็นลำดับ สมเหตุสมผล สามารถแปลภาษากฏหมายให้ทุกฝ่ายเข้าใจได้ง่าย
  8. ทักษะการเข้าสังคม มารยาท การวางตัวและการพูดคุยกับบุคคลที่หลากหลาย
  • ผลตอบแทน เงินเดือนเริ่มต้นสำหรับนักกฎหมายจบใหม่ประมาณ 18,000-30,000 บาท/เดือน  ขึ้นอยู่กับขนาดของบริษัท   
    • สำหรับผู้มีประสบการณ์และผ่านการสอบใบอนุญาตว่าความ รายได้สามารถสูงถึง 50,000-70,000 บาท/เดือน
    • บริษัทบางแห่งนักฏหมายอาจได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเติมในรูปแบบเปอร์เซ็นต์จากผลสำเร็จของคดี ตามที่ตกลงไว้กับลูกความหรือบริษัท 
    • หากดำรงตำแหน่งระดับบริหาร เช่น Head of Legal อาจมีรายได้ถึง 100,000 บาทขึ้นไป
  • โอกาสและการเติบโตของอาชีพนักกฎหมายในบริษัทเอกชน 
    • เติบโตในสายงานทนาย เช่น เลื่อนขั้นเป็น Legal Manager, Head of Legal หรือ Chief Legal Officer (CLO) และสามารถนำทักษะต่อยอดไปเป็นทนายความอิสระหรือที่ปรึกษากฎหมายส่วนตัว
    • มีโอกาสย้ายไปทำงานในบริษัทต่างชาติหรือสำนักงานกฎหมายชั้นนำ
    • เติบโตในสายงานราชการ สามารถนำทักษะไปสอบเข้าในระบบราชการ เช่น อัยการ ผู้พิพากษา ตำรวจ หน่วยสืบสวน (DSI)
  • ความท้าทายของอาชีพนักกฎหมายในบริษัทเอกชน 
    • ทำงานภายใต้ความกดดันสูง โดยเฉพาะเมื่อต้องจัดการข้อพิพาทหรืองานเร่งด่วน
    • ต้องรักษาความลับและจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด
    • มีความรอบคอบสูง เพราะความผิดพลาดเล็กน้อยอาจสร้างความเสียหายทางกฎหมาย
  • พี่ต้นแบบอาชีพ นักกฎหมายในบริษัทเอกชน  [สัมภาษณ์เมื่อวันที่  1 มิถุนายน 2568]
  • UTCC. (2025) : เรียนจบนิติศาสตร์สามารถประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง. https://law.utcc.ac.th/blogs/law-graduate-career-guide-utcc/
  • Jobdb. (2025) : การก้าวสู่การเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย. https://th.jobsdb.com/th/career-advice/role/legal-officer