นักคณิตศาสตร์ประกันภัย

BRAND'S BRAIN CAMP

นักคณิตศาสตร์ประกันภัย

ผู้ที่ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ และการวิเคราะห์ข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงทางการเงิน เพื่อช่วยองค์กรวางแผนและบริหารจัดการความเสี่ยง เช่น การกำหนดเบี้ยประกัน การออกแบบผลิตภัณฑ์ประกันภัย หรือการคาดการณ์ผลกระทบทางการเงินในอนาคต

นักคณิตศาสตร์ประกันภัย
  • วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ เช่น อายุ เพศ พฤติกรรมสุขภาพ และประวัติการเคลมประกัน ของกลุ่มลูกค้าเพื่อนำมาคำนวณความเสี่ยง
  • คำนวณเบี้ยประกันภัยให้เหมาะสมกับความเสี่ยงของแต่ละกลุ่มลูกค้า (Pricing Actuary) เพื่อให้บริษัทมีรายได้ที่เพียงพอและแข่งขันได้ในตลาด
  • ประเมินและคำนวณเงินสำรองที่บริษัทต้องกันไว้สำหรับการจ่ายค่าสินไหมทดแทนในอนาคต (Reserving Actuary) โดยใช้ข้อมูลเคลมในอดีตและแบบจำลองทางสถิติ
  • สร้างแบบจำลองความเสี่ยงทางการเงิน เพื่อวางแผนรองรับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น โรคระบาดหรือภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
  • ทำวิจัยภายใน (Internal Research) หรือค้นหาข้อมูลภายนอกเพื่อหาแนวทางใหม่ในการบริหารความเสี่ยงหรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์
  • วิเคราะห์และจัดทำรายงานส่งให้ผู้บริหาร หน่วยงานภายใน หรือหน่วยงานกำกับดูแล เช่น คปภ.
  • บางบริษัทอาจให้มีบทบาทร่วมกับทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัย เช่น ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือประกันอุบัติเหตุ
  1. ศึกษากรมธรรม์ เพื่อเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
  2. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล เช่น สถิติประชากร สุขภาพ อุบัติเหตุ หรือข้อมูลเศรษฐกิจ รวมถึงข้อมูลภายในจากฝ่ายต่าง ๆ 
  3. คำนวณเบี้ยประกัน  (Pricing Actuary) โดยการประเมินความเสี่ยง ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ และแบบจำลองหรือวิธีอื่นๆ ตามความถนัดและหากเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ อาจต้องหาข้อมูลจากต่างประเทศมาเสริมเพื่อคำนวณเบี้ยประกัน
  4. พัฒนาแบบจำลองและทดสอบสมมติฐาน เพื่อคาดการณ์ผลกระทบทางการเงินในอนาคต
  5. คำนวณเงินสำรอง (Reserving) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลการเคลมในอดีตเพื่อ และคาดการณ์ความเสี่ยง (บริษัทบางแห่งอาจจะได้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทำทั้งสองอย่าง)
  6. เขียนโค้ดและทำจัดทำ Data Analysis เพื่อสร้างรายงานที่แม่นยำและตรวจสอบได้
  7. จัดทำรายงานและข้อเสนอ ส่งให้ทีมบัญชี ผู้บริหารหรือหน่วยงานกำกับ เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พิจารณาก่อนอนุมัติผลิตภัณฑ์ หากผ่านการอนุมัติ จึงสามารถนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดได้
  1. นักบัญชี
  2. นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ / ทีมผลิตภัณฑ์
  3. นักกฎหมาย
  4. นักวิเคราะห์ค่าสินไหมทดแทน
  5. นักการตลาดประกันภัย
  6. เจ้าหน้าที่บริหารความเสี่ยง
  7. นักสำรวจภัย
  • สถานที่ทำงาน ทำงานในบริษัทประกันภัย ธนาคาร บริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน หรือหน่วยงานภาครัฐ บางรายอาจทำงานอิสระหรือให้คำปรึกษากับหลายองค์กร ลักษณะงานส่วนใหญ่เป็นงานประจำในออฟฟิศ อาจมีเดินทางไปทำงานนอกสถานที่บ้าง เช่น ประชุมกับ คปภ. ซึ่งในปัจจุบันหลายบริษัทสามารถทำงานแบบ Work from Home หรือมีเวลาทำงานแบบยืดหยุ่นได้
  • เวลาทำงาน โดยทั่วไปทำงานในวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่ 9.00-18.00 น. บางแห่งสามารถเข้างานได้อย่างยืดหยุ่นและโดยนับเวลาทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน วันหยุดส่วนมากจะตรงตามปฏิทินธนาคาร อาจมีทำงานล่วงเวลาบ้างในช่วงเร่งด่วน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละองค์กรและรูปแบบบริษัท
  1. ความรู้ด้านประกันภัย มีความเข้าใจกฎหมายพื้นฐาน กรมธรรม์ และหลักการของผลิตภัณฑ์ประกัน
  2. เข้าใจหลักการทางคณิตศาสตร์ สถิติ เศรษฐศาสตร์ และการเงิน
  3. ความรู้เกี่ยวกับการสร้างแบบจำลอง และการวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงและคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต
  4. ทักษะโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น Excel เป็นหลักในการคำนวณ และโปรแกรมสร้างกราฟ/ตารางต่างๆ
  5. ทักษะการเขียนโค้ด โดยภาษาโค้ดขึ้นอยู่กับองค์กรที่สังกัด เช่น ภาษา SAS, Python
  6. ทักษะการแปลข้อมูลเป็นภาพ 
  7. มีความละเอียดและตรรกะ ต้องสามารถวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบคอบและมีเหตุผล
  8. ทักษะการสื่อสาร สามารถอธิบายข้อมูลเชิงเทคนิคให้คนทั่วไปเข้าใจได้
  9. ทักษะด้าน IT และเทคโนโลยี เข้าใจระบบฐานข้อมูลและสามารถทำงานร่วมกับฝ่าย IT ได้
  10. มีคุณวุฒินักคณิตศาสตร์ประกันภัย หรือพร้อมในการสอบเพื่อรับรองเป็นนักคณิตศาสตร์ประกันภัยตามมาตรฐานสากล
  • ผลตอบแทน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ขนาดขององค์กร และการสอบวัดคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งเป็นการสอบวัดระดับความรู้จากสมาคมวิชาชีพด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยต่าง ๆ โดยแต่ละสมาคมจะจัดการสอบวัดผลในแต่ละระดับขึ้นทุกปีตามศูนย์สอบในเมืองใหญ่ ๆ ของแต่ละประเทศทั่วโลก แบ่งออกเป็นหลายระดับ ซึ่งแต่ละระดับบ่งบอกถึงความเชี่ยวชาญที่เพิ่มขึ้น และมีผลโดยตรงต่อเงินเดือนและความก้าวหน้าของอาชีพ
    • สำหรับผู้จบใหม่ บริษัทอาจรับผู้ที่จบการศึกษาปริญญาตรีที่เกี่ยวข้องแต่ยังไม่ผ่านการสอบคุณวุฒิวิชาชีพ เข้าทำงานในตำแหน่งเริ่มต้น เช่น Actuarial Analyst  โดยมีเงินเดือนเริ่มต้น 18,000 – 27,000/เดือน และเพิ่มขึ้นในภายหลังเมื่อสอบผ่านคุณวุฒิ
    • หากทำงานในบริษัทที่ปรึกษา (Consultant) เริ่มต้นประมาณ 25,000–38,000 บาท/เดือน
    • ผู้ที่มีประสบการณ์สูงและวุฒิวิชาชีพครบถ้วนอาจมีรายได้ประมาณ 50,000 – 100,000 บาท/เดือน 
    • ค่าตอบแทนจากการสอบผ่านคุณวุฒิวิชาชีพ  การได้รับรองมาตรฐานคุณวุฒิแต่ละครั้งก็จะมีรายได้ที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอาจทำให้มีรายได้หลักล้านบาทต่อเดือน  
  • โอกาสและการเติบโตของอาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัย
    • เติบโตในสายงานนักคณิตศาสตร์ประกันภัย เช่น จาก Junior Actuary ไปสู่ Senior Actuary, Chief Actuary หรือผู้บริหารด้านการเงินและความเสี่ยง หากสอบผ่านคุณวุฒิวิชาชีพระดับสากล จะมีโอกาสเลื่อนตำแหน่งและเพิ่มรายได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงสามารถเข้าสู่ตลาดงานระดับนานาชาติ หรือร่วมงานกับบริษัทต่างประเทศได้ 
    • การสอบผ่านคุณวุฒิวิชาชีพ 
      • ระดับแอสโซซิเอท (Associateship) แสดงถึงการผ่านการสอบวัดผลวิชาหลักจำนวนหนึ่ง (เช่น 7 วิชาหลักสำหรับ ACAS) มีเงินเดือนอยู่ในช่วงประมาณ 70,000 – 100,000 บาทต่อเดือน 
      • ระดับเฟลโล่ (Fellowship ) เป็นระดับสูงสุด แสดงถึงความรู้ความเชี่ยวชาญที่ลึกซึ้งและครอบคลุมในสาขาคณิตศาสตร์ประกันภัยเฉพาะทาง  อาจมีเงินเดือนสูงถึง 120,000 – 150,000 บาทต่อเดือน หรือบางรายที่มีประสบการณ์ 15 ปี+ อาจสูงถึง 1 ล้านบาทต่อเดือน ในระดับผู้บริหารสูงสุด
    • ขยายสู่อาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น เป็นที่ปรึกษา (Actuarial Consultant) , Data Analyst, Risk Analyst, Financial Analyst หรือสายงานวิเคราะห์ธุรกิจ (Business Analyst) รวมถึงสามารถต่อยอดสู่งานด้านการลงทุน หรือ E-commerce ที่ต้องใช้ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลและการพยากรณ์ หรือแม้ Content Creator หรือวิทยากรให้ความรู้
  • ความท้าทายของอาชีพนักคณิตศาสตร์ประกันภัย
    • การสอบวัดคุณวุฒิที่ยากและยาวนาน ข้อสอบมีความซับซ้อน ครอบคลุมหลายสาขาวิชา และต้องใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ สถิติ และการเงินอย่างลึกซึ้ง การสอบให้ได้คุณวุฒิระดับ Fellow อาจใช้เวลาหลายปี บางคนต้องทำงานไปพร้อมกับการเตรียมตัวสอบ ซึ่งต้องอาศัยวินัย ความอดทน และความมุ่งมั่นสูง
    • งานต้องการความแม่นยำสูงและมีความกดดัน การตัดสินใจทางคณิตศาสตร์ประกันภัยส่งผลกระทบทางการเงินอย่างมหาศาล ความผิดพลาดเล็กน้อยอาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่รุนแรงได้
    • กฎระเบียบที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงบ่อย  อุตสาหกรรมประกันภัยมีการกำกับดูแลที่เข้มงวดและกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เช่น มาตรฐานบัญชีใหม่ (IFRS 17) ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อการคำนวณเงินสำรองและรายงานทางการเงิน นักคณิตศาสตร์ประกันภัยต้องติดตามและปรับตัวให้ทัน 
    • สภาพแวดล้อมที่คาดเดายาก อัตราดอกเบี้ย, อัตราเงินเฟ้อ, การเติบโตทางเศรษฐกิจ,ความผันผวนของตลาดทุน หรือ สถานการณ์ภัยพิบัติ การระบาดของโรค ล้วนส่งผลกระทบต่อการคำนวณและประมาณการของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย การคาดการณ์ที่แม่นยำในภาวะที่ไม่แน่นอนเป็นความท้าทาย
  • ช่องทาง Youtube ที่เกี่ยวกับอาชีพ นักคณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuary)
    • U Passion Group. (2023, Feb 16). นักคณิตศาสตร์ประกันภัย : เจาะลึกคณะที่ชอบ สู่อาชีพที่ใช่  [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=QmDl8OUydWw
    • SOAT Thailand. (2018, Nov 5). คณิตศาสตร์ประกันภัยคืออะไร? “What is Actuarial science?  [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=PU0dX76ines