Skip to content
หน้าแรก
เกี่ยวกับแบรนด์
กิจกรรม
คลังอาชีพ
ค้นหาอาชีพที่ใช่
Job นี้ เจอร์นี่
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
เกี่ยวกับแบรนด์
กิจกรรม
คลังอาชีพ
ค้นหาอาชีพที่ใช่
Job นี้ เจอร์นี่
เข้าสู่ระบบ
ครีเอทีฟ – อีเวนต์ (Creative Event)
BRAND'S BRAIN CAMP
ครีเอทีฟ – อีเวนต์ (Creative Event)
ผู้คิดและออกแบบแนวคิดหลักของงานอีเวนต์ให้มีความน่าสนใจ สร้างสรรค์ และตรงตามเป้าหมายของลูกค้า
📃 ลักษณะงาน
คิดและวางไอเดียหลัก (Concept) ของงานอีเวนต์ให้โดดเด่นและตอบโจทย์ลูกค้า
เขียนโครงการ/ไอเดีย (event proposal) หรือพรีเซนต์ไอเดียให้ลูกค้าและทีมเข้าใจ
ออกแบบกิจกรรมหรือประสบการณ์ภายในงาน (experience design) เช่น การออกแบบพื้นที่ การเลือกการแสดงบนเวที โซนกิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมสามารถมีส่วนร่วมได้ มุมถ่ายรูปในงาน เป็นต้น
ทำงานร่วมกับทีมที่เกี่ยวข้อง เช่น ทีมโปรดักชัน, ทีมดีไซเนอร์, ทีมมาร์เก็ตติ้ง, หรือทีมงานจากฝั่งลูกค้า
ควบคุมงานเพื่อให้ภาพรวมของงานเป็นไปตามไอเดีย เช่น โทนการตกแต่งภายในงาน การตกแต่งส่วนเวที กราฟิกในงานประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
จัดทำรายงานสรุปผลการจัดงานให้กับลูกค้า เพื่อนำความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของลูกค้ากลับมาพัฒนา
อัปเดตเทรนด์ใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในงานอีเวนต์ เช่น เทคโนโลยี AR/VR, Interactive Display ฯลฯ
📊 ขั้นตอนการทำงาน
ทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้า
เข้าประชุมกับลูกค้าเพื่อรับฟังความต้องการ เช่น วัตถุประสงค์ของงาน, กลุ่มเป้าหมาย, ข้อมูลสินค้า/แบรนด์, งบประมาณ, สถานที่และวันจัดงาน
วิเคราะห์บรีฟและกลุ่มเป้าหมาย
ศึกษาแบรนด์ สินค้า หรือบริการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหาข้อมูลเทรนด์หรือข้อมูลเชิงลึก (Insight) ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางไอเดียให้ตรงจุด
ระดมสมองและคิดไอเดียหลัก
คิดธีมงานและรูปแบบกิจกรรมที่สร้างประสบการณ์ให้ผู้เข้าร่วม ภายในงบประมาณที่มี เพื่อให้การออกแบบและกิจกรรมต่าง ๆ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
นำเสนอไอเดียให้ลูกค้า
นำข้อมูลทั้งหมดมาเรียบเรียงเพื่อนำเสนอให้ลูกค้าพิจารณา โดยอาจทำเป็นพรีเซนเทชันประกอบด้วยภาพตัวอย่างพื้นที่จัดงาน กิจกรรมต่าง ๆ และแผนงบประมาณเสนอลูกค้า จากนั้นปรับแก้ตามที่ลูกค้าต้องการ
วางแผนการดำเนินงาน
ร่วมกับทีมงานฝ่ายปฏิบัติการ (Operations) และฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการดำเนินงานอย่างละเอียด เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง, การติดตั้ง, การบริหารจัดการหน้างาน
ประสานงานกับทีม
ทำงานร่วมกับทีมงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอก เช่น โปรดักชันผู้รับเหมา, ศิลปินรับเชิญ, ผู้สนับสนุน เพื่อให้มั่นใจว่าทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางไว้
กำกับดูแลการผลิต
ตรวจสอบและกำกับดูแลในขั้นตอนการผลิตและการติดตั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าผลลัพธ์ที่ได้ตรงตามแนวคิดและมาตรฐานที่กำหนด
ดูแลภาพรวมงานในวันอีเวนต์
ครีเอทีฟอาจต้องอยู่หน้างานเพื่อดูความเรียบร้อย คอยประสานงานและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในงาน เช่น บูธติดตั้งล่าช้า แก้ไขตารางเวลาให้การแสดงดนตรีไหลลื่น และคอยดูแลให้ทุกอย่างเป็นไปตามธีมงาน
สรุปงานและประเมินผล
รวบรวมภาพ/วิดีโอ บรรยากาศภายในงาน รวมถึงเขียนรายงานสรุปผล เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ข้อเสนอแนะ เพื่อนำเสนอลูกค้าและรับฟังฟีดแบ็กในการปรับปรุงงานครั้งถัดไป
👩🏻💻 อาชีพที่ต้องทำงานร่วมกัน
อีเวนต์โปรดิวเซอร์
นักออกแบบกราฟิก
ช่างภาพและวิดีโอ
ผู้จัดหาวัตถุดิบ/ซัพพลายเออร์
นักการตลาดดิจิทัล
ช่างเทคนิค แสง สี เสียง
พิธีกร
🏢 สถานที่และเวลาทำงาน
สถานที่ทำงาน โดยทั่วไปครีเอทีฟสามารถทำงานได้ในหลากหลายอุตสาหกรรมและบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานอีเวนต์ เช่น บริษัทออแกไนซ์ บริษัทอีเวนต์เอเจนซี ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและ MICE (Meetings, Incentives, Conferences, Exhibitions) เช่น โรงแรม, ศูนย์ประชุม, หรือบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการจัดประชุมและนิทรรศการ มักมีทีมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและสร้างสรรค์งานอีเวนต์ หรือในบางองค์กรอาจที่มีการจัดอีเวนต์บ่อยครั้ง อาจมีทีมครีเอทีฟอีเวนต์ภายในองค์กรเป็นของตัวเอง
ครีเอทีฟ อีเวนต์ที่รับงานอิสระหรือฟรีแลนซ์ สามารถทำงานที่บ้านได้ โดยอาจเดินทางเข้ามาประชุมกับลูกค้าเป็นครั้งคราว
สถานที่ทำงานของครีเอทีฟอีเวนต์มีความหลากหลายและเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะของงาน โดยมีสำนักงานเป็นสถานที่หลักในการทำงานประจำวัน เพื่อระดมสมอง, วางแผน, เขียน proposal, ประชุมกับทีมงานและลูกค้า เมื่อใกล้ถึงวันงานจริง หรือในระหว่างการติดตั้ง (set-up) ครีเอทีฟจะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่สถานที่จัดงาน เพื่อดูแลการติดตั้ง, ตรวจสอบความเรียบร้อย, และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
เวลาทำงาน เวลาทำงานขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละองค์กร โดยทั่วไปมักทำงานในเวลา 9.00 – 18.00 น. วันจันทร์ – ศุกร์ หยุดวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
หากใกล้ถึงวันจัดงาน อาจจะต้องมีการทำงานล่วงเวลาตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำ เพื่อให้การเตรียมงานเป็นไปอย่างเรียบร้อย
✅ ความรู้ความสามารถที่ต้องใช้
มีความคิดสร้างสรรค์สูง
ความรู้และทักษะด้านการบริหารจัดการและการวางแผน เช่น การบริหารจัดการงบประมาณ การบริหารเวลา
ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการผลิตและติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เวที, แสง, เสียง, Visual, การตกแต่ง
ทักษะการประสานงาน
ทักษะการนำเสนอ
ความรู้เกี่ยวกับการตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภค
💵 โอกาส ความท้าทาย และผลตอบแทน
ผลตอบแทน
เงินเดือนขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และความรับผิดชอบ
เงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 18,000-25,000 บาท/เดือน
สำหรับผู้มีประสบการณ์มากกว่า 3-5 ปี หรือทำงานในบริษัทขนาดใหญ่ อาจมีรายได้ 25,000-40,000 บาท/เดือน
หากเป็นฟรีแลนซ์ สามารถคิดค่าตอบแทนในรายโปรเจกต์ได้ ตั้งแต่ 50,000 – 100,000 บาท
โอกาสและการเติบโตของอาชีพ
ครีเอทีฟ อีเวนต์
เติบโตในสายงาน
เติบโตตามประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ และเลื่อนตำแหน่งในขั้นที่สูงกว่า โดยเริ่มจากระดับเริ่มต้น (Junior Event Creative) ระดับกลาง ไปจนถึงระดับเชี่ยวชาญ (Senior Event Creative) และ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ (Creative Executive) ซึ่งเป็นตำแหน่งบริหารสูงสุดในสายงานครีเอทีฟของบริษัทอีเวนต์
เติบโตสายธุรกิจ
ครีเอทีฟอีเวนต์ที่มีประสบการณ์สูงและเครือข่ายที่ดี สามารถผันตัวไปเป็นผู้ประกอบการ จัดตั้งบริษัทอีเวนต์ของตนเองได้
พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
ผู้บริโภคในปัจจุบันไม่ได้ต้องการแค่ “สินค้า” หรือ “บริการ” แต่ต้องการ “ประสบการณ์” ที่น่าจดจำและมีความหมาย งานอีเวนต์จึงเป็นช่องทางสำคัญในการสร้างประสบการณ์เหล่านั้น ทำให้ครีเอทีฟอีเวนต์ที่มีแนวคิดลึกซึ้งและสร้างสรรค์เป็นที่ต้องการสูง
ความหลากหลายของประเภทงาน
ครีเอทีฟอีเวนต์ไม่ได้จำกัดแค่งานคอนเสิร์ตหรืออีเวนต์สินค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงงานองค์กร (Corporate Events), งานเปิดตัว, งานแสดงสินค้า (Exhibitions), งานสัมมนา (Seminars), งานประชุม (Conferences), งานแต่งงาน, งานเทศกาล, และงานอีเวนต์เพื่อสังคม ซึ่งเปิดโอกาสในการทำงานที่หลากหลาย
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
อุตสาหกรรมอีเวนต์มีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้มากขึ้น เช่น เทคโนโลยีเสมือนจริง (VR/AR), การจัดงานแบบ Hybrid (ออนไลน์และออฟไลน์), Interactive Display, Live Streaming, AI ซึ่งเปิดโอกาสให้ครีเอทีฟได้สร้างสรรค์ประสบการณ์ที่แปลกใหม่และน่าตื่นเต้น
ความท้าทายของอาชีพ
ครีเอทีฟ อีเวนต์
การสร้างสรรค์ภายใต้ข้อจำกัด เช่น งบประมาณจำกัด กรอบเวลาจำกัด หรือข้อจำกัดทางสถานที่
ความคาดหวังที่หลากหลายของลูกค้า ลูกค้าแต่ละรายมีความคาดหวังและรสนิยมที่แตกต่างกัน ครีเอทีฟต้องปรับตัวและตีความความต้องการของลูกค้าให้ออกมาเป็นรูปธรรมได้
ความกดดันสูง งานอีเวนต์มักมีงบประมาณสูงและมีความสำคัญต่อภาพลักษณ์ของลูกค้า ทำให้ครีเอทีฟต้องแบกรับความกดดันในการทำให้งานประสบความสำเร็จ
อุตสาหกรรมอีเวนต์มีการเปลี่ยนแปลงเทรนด์ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการจัดงาน, เทคโนโลยี, หรือพฤติกรรมผู้บริโภค ครีเอทีฟต้องเรียนรู้และปรับตัวอยู่เสมอ
ในตลาดที่มีการแข่งขันสูง ครีเอทีฟต้องสร้างสรรค์ไอเดียที่แตกต่างและโดดเด่นอยู่เสมอ เพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้าและผู้เข้าร่วมงาน
ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน โดยเฉพาะในช่วงใกล้ถึงวันงานและวันงานจริง ครีเอทีฟอาจต้องทำงานล่วงเวลา, ทำงานในวันหยุด, หรือทำงานข้ามคืน เพื่อให้งานออกมาสมบูรณ์แบบ
🖥️ ช่องทางการศึกษาความรู้เพิ่มเติม
ช่องทาง Youtube ที่เกี่ยวกับอาชีพ ครีเอทีฟ อีเวนต์
We Mahidol. (2021, Sep 13).
ครีเอทีฟ (Creative Event) อาชีพนี้ทำอะไร | We Mahidol
[Video].
https://www.youtube.com/watch?v=7xhc1I6T_r4
TruePlookpanya Channel. (2018, Mar 23)
.
ทำ Podcast
ทำ ก่อน ฝัน I ครีเอทีฟอีเว้นท์ I Index Creative Village
[Video].
https://www.youtube.com/watch?v=otHKAconyHE&t=1s
🌐 แหล่งอ้างอิง
Number 24. (n.d.).
เจาะลึก ครีเอทีฟ คืออะไร มีกี่แบบ บุคคลสำคัญที่วงการเอเจนซี่ขาดไม่ได้
. Number24. สืบค้นจาก
https://number24.co.th/th/blog/what-is-creative/