นักวิทยาศาสตร์เคมี

BRAND'S BRAIN CAMP

นักวิทยาศาสตร์เคมี

ผู้ศึกษาและวิจัยความรู้ทางด้านเคมี เพื่อนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการทางเคมีที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันของมนุษย์

chemist_pana_89b2c72f04
  • ศึกษาและทดลองเพื่อนำสารเคมีที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น นำไปเป็นส่วนประกอบในวัสดุทางการแพทย์, พัฒนาเป็นวัสดุใหม่ๆ,  ปรับปรุงคุณสมบัติของสารเคมีเดิม 
  • วิเคราะห์ด้วยสารเคมี เช่น การตรวจสอบคุณภาพของน้ำและดิน, การตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารและสิ่งแวดล้อม, การตรวจสอบหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
  • เป็นที่ปรึกษา ให้คำปรึกษาด้านการใช้สารเคมีกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง
  1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยหรือการทดลอง  เช่น เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่, เพื่อปรับปรุงคุณภาพของสารเคมีเดิม, เพื่อตรวจสอบคุณภาพดิน เป็นต้น
  2. ออกแบบการทดลองเพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้  โดยการออกแบบการทดลองจะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น ประเภทของการทดลอง วัสดุที่ใช้ อุปกรณ์ที่ใช้ วิธีการวัดผล และมาตรการควบคุม
  3. ทำการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมสารเคมี และอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการทดลองหรือวิจัยในห้องปฏิบัติการ
  4. ทำการทดลองหรือวิจัยตามแผนที่ได้วางไว้ โดยรักษามาตรการความปลอดภัยและปฏิบัติตามข้อกำหนดเพื่อป้องกันอันตรายและความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม
  5. บันทึกข้อมูลที่ได้จากการทดลองอย่างละเอียด และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับเพื่อใช้สรุปผลการทดลอง
  6. รายงานผลการวิจัยและเผยแพร่ เช่น รายงานผลวิจัย, บทความทางวิทยาศาสตร์, เอกสารการประชุม, งานนำเสนอ
  1. นักจุลชีววิทยา
  2. นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  3. นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
  • นักวิทยาศาสตร์เคมีทำงานในหน่วยงานภาครัฐหรือภาคเอกชนที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการทดลองและใช้สารเคมี เช่น หน่วยงานวิจัยต่างๆ อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กรมควบคุมมลพิษ มูลนิธิด้านสิ่งแวดล้อม หรืออาจเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษา ฯลฯ
  • โดยทั่วไปแล้ว นักวิทยาศาสตร์เคมีมักจะทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์ สัปดาห์ละประมาณ 40 ชั่วโมง โดยมักจะมีเวลาทำงานที่แน่นอน คือ 8.00 น. -16.30 น.
  • แต่บางครั้งอาจต้องทำงานล่วงเวลาหรือทำงานในวันหยุด  ขึ้นอยู่กับโครงการและกิจกรรมขององค์กร
  1. ความรู้เรื่องเคมี เช่น โครงสร้างของอะตอม พันธะเคมี สมบัติของสาร ปฏิกิริยาเคมี หลักการทางเคมีวิเคราะห์ เคมีอินทรีย์ เคมีอนินทรีย์ เคมีฟิสิกส์ ชีวเคมี และเคมีสิ่งแวดล้อม 
  2. ทักษะการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีในการทำการทดลองทางเคมี เช่น เครื่องแก้ว, บิวเรต, แมนอมิเตอร์, เครื่องวิเคราะห์สารเคมี, และซอฟต์แวร์วิเคราะห์ข้อมูลทางเคมี เป็นต้น
  3. ทักษะการออกแบบการทดลอง เพื่อออกแบบการทดลองที่ถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพ
  4. ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลอง หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และดึงข้อสรุป
  • ผลตอบแทนเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 18,000 – 35,000 บาทต่อเดือน 
  • นักวิทยาศาสตร์เคมีมีโอกาสทำงานในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาดอยู่เสมอ 
  • การเติบโตในอาชีพ (Career Path) ของ “นักวิทยาศาสตร์เคมี” มีดังนี้
    • นักวิจัยและนักวิชาการ
    • หัวหน้าโครงการวิจัย
    • นักวิทยาศาสตร์อาวุโส
    • นักวิทยาศาสตร์เคมีระดับบริหาร 
  • ความยากและท้าทายของอาชีพ “นักวิทยาศาสตร์เคมี” คือ 
    • ต้องเรียนรู้และเข้าใจกระบวนการทางเคมีที่ยากและซับซ้อน
    • นักวิทยาศาสตร์เคมีต้องทำงานหนัก อดทน และมีความรับผิดชอบสูง เพราะงานของนักวิทยาศาสตร์เคมีมีผลต่อความปลอดภัยของบุคคลและสิ่งแวดล้อม
    • ต้องทำงานในห้องปฏิบัติการหรือสถานที่ที่ต้องการความระมัดระวังสูงเป็นระยะยาวเวลานาน จึงต้องมีความตื่นตัวตลอดเวลาที่ทำงาน
  • สิ่งที่เป็นความเสี่ยงของอาชีพ “นักวิทยาศาสตร์เคมี” คือ 
  • นักวิทยาศาสตร์เคมีอาจสัมผัสกับสารเคมีอันตราย เช่น สารก่อมะเร็ง สารพิษต่อระบบประสาท สารระคายเคืองผิวหนัง และสารก่อภูมิแพ้ การสัมผัสกับสารเคมีเหล่านี้เป็นเวลานาน อาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว
  • นักวิทยาศาสตร์เคมีอาจเกิดอุบัติเหตุในห้องปฏิบัติการ เช่น การหกของสารเคมี การระเบิด และไฟไหม้
  • การผลิต การใช้งาน และการกำจัดสารเคมี อาจส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ มลพิษทางดิน และมลพิษทางอากาศ มลพิษเหล่านี้ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืช
  • ช่อง YouTube ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาชีพนักวิทยาศาสตร์เคมี
thaicyberu [@thaicyberu]. (2016, March 6). บันไดสายอาชีพ ตอน นักเคมี. Youtube. https://www.youtube.com/watch?v=VrQG_C06x7o