นักวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์

BRAND'S BRAIN CAMP

นักวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์

ผู้ทำให้เกิดความรู้หรือการค้นพบใหม่ๆ ทางชีววิทยา เพื่อพัฒนาทางด้านการแพทย์

Laboratory_pana_570fe85265
  • ตั้งปัญหา หาสาเหตุ ตั้งสมมติฐาน และจุดประสงค์
  • ออกแบบและวางแผนการทำการทดลอง ทำการทดลองในแล็บ 
  • วิเคราะห์และสรุปผล เรียบเรียงเพื่อเขียนเป็นงานวิจัยและส่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ
  • กำหนดโจทย์ กำหนดปัญหา หรือรับโจทย์ที่มีคนกำหนดไว้ให้
  • ทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยทั่วโลกเพื่ออัพเดทและดูแนวทางการวิจัยที่เคยมีคนทำแล้ว
  • คิดหาสาเหตุ วิธีการแก้ ของปัญหาหรือโจทย์ที่ได้รับ เพื่อนำมาตั้งเป็นสมมติฐานงานวิจัย
  • ทำการทดลองในแล็บเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน
  • วิเคราะห์ผลการทดลอง และทบทวนวรรณกรรมเพิ่มเติม
  • สรุปผลการทดลองโดยการเรียบเรียงและเขียนเป็นงานวิจัย ส่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ

มีทั้งการทำงานคนเดียว และที่ต้องสื่อสารกับคนอื่นด้วย อาชีพที่นักวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ต้องร่วมทำงานด้วยขึ้นอยู่กับโครงการที่ทำ โดยมากทำงานร่วมกับอาชีพ ดังนี้

  1. นักวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ เช่น เคมี ฟิสิกส์ 
  2. แพทย์ อาจารย์แพทย์
  3. นักสถิติ
  4. วิศวกร

ขึ้นอยู่กับองค์กรที่ทำงาน โดยแต่ละที่มีความยืดหยุ่นในการเริ่มและเลิกงาน รวมถึงสถานที่ทำงานไม่เหมือนกัน โดยทั่วไปแล้ว สถานที่และเวลาทำงานของนักวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์อาจเป็นดังนี้

  • เวลาทำงาน 9:00 – 17:00 น. มาทำงานที่แล็บหรือที่ออฟฟิศ
  • ทำงานที่ห้องแล็บ ทำแล็บแล้วแต่ว่าต้องทำอะไร ระยะเวลาเท่าไหร่ ใช้เครื่องมืออะไร ตามแผนที่วางไว้
  • นักวิทยาศาสตร์บางคนอาจเป็นที่ปรึกษา โดยทำงานที่ปรึกษา หรือวิเคราะห์ผลการทดลองที่บ้านได้ ไม่จำเป็นต้องมาทำแล็บในห้องแล็บเอง
  • ความรู้ทางด้านชีววิทยา และการแพทย์
  • ความรู้เฉพาะทางในเรื่องที่ต้องทำงาน เช่น ทำงานวิจัยเกี่ยวกับมะเร็ง ต้องมีความรู้เกี่ยวกับมะเร็งประเภทต่าง ๆ เรื่องกระบวนการทำงาน การก่อให้เกิดโรค วิธีการรักษา ยาที่ใช้รักษาในปัจจุบัน งานวิจัยที่นักวิจัยทั่วโลกศึกษาเกี่ยวกับมะเร็งนี้ เป็นต้น
  • ชอบอ่านและใฝ่หาความรู้
  • ต้องมีความอยากรู้มาก ๆ เพราะจำเป็นต้องหาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ
  • หากมีทักษะทางภาษาอังกฤษจะช่วยในการอ่านและทำความเข้าใจความรู้ได้มากขึ้น ภาษาอังกฤษมีความสำคัญแต่เป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้ จึงไม่ต้องกังวลมากหากไม่เก่งภาษาอังกฤษ
  • มีความรู้ความสามารถในการทำแล็บ ซึ่งความสามารถในการใช้เครื่องมือทดลองในแล็บที่เป็นเครื่องมือเฉพาะทางสามารถศึกษาเพิ่มเติมจากการอบรมวิธีการใช้ได้ 
  • มีทักษะในการสื่อสาร ถึงแม้ว่าทำงานคิดงานคนเดียวในห้องแล็บ แต่อาจต้องขอความช่วยเหลือหรือไปช่วยผู้อื่น ต้องทำงานร่วมกับผู้อื่นบ้าง รวมถึงต้องใช้ทักษะการสื่อสารในการนำเสนอผลวิจัยด้วย
  • ทุก ๆ งานอดิเรกมีประโยชน์ในการทำงาน ได้ใช้ทักษะในโอกาสต่าง ๆ เช่น ชอบเล่นกีฬา จะมีทักษะในการสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ชอบเขียนโปรแกรมคิดคำนวณ มีประโยชน์ตอนวิเคราะห์ผล เป็นต้น
  • ขยันและไม่ท้อถอย 
  • นักวิทยาศาสตร์จะต้องเป็นคนที่ล้มแล้วเจ็บไม่เป็น ล้มแล้วลุกไปเรื่อย ๆ เพราะบางการทดลองจะต้องทำซ้ำแล้วซ้ำอีก หรือจะต้องเจอความล้มเหลวจากการทดลองซ้ำ ๆ หรืออาจจะไม่ได้ผลตามที่คาดหวังจากการทดลอง
  • สามารถควบคุมตนเองได้ ทั้งในแง่วินัยในการทำงาน และการรับมืออารมณ์ความรู้สึกของตนเองกับผลที่เกิดการทำงาน ไม่ว่าจะทางบวกหรือลบ เช่น ผลแล็บล้มเหลวซ้ำ ๆ หากไม่สามารถควบคุมสภาวะจิตใจให้ดี อาจทำให้จิตตกหรือเครียดได้ เป็นต้น
  • มีความซื่อสัตย์ต่อผลการทดลองที่ได้ ต้องแสดงผลอย่างตรงไปตรงมา เป็นสิ่งที่สำคัญมาก
  • ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ แต่ต้องผ่านการอบรมจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งการวิจัยในคนและในสัตว์ โดยการวิจัยในสัตว์ ต้องใช้ให้น้อยที่สุดให้เกิดประโยชน์สูงสุดเท่าที่เป็นไปได้
  • นักวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ อาจทำงานในองค์กรได้หลากหลาย เช่น
    • องค์กรเอกชน เช่น บริษัทยา บริษัทในอุตสาหกรรมอาหาร ทำงานในส่วนการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) หรือที่เรียกว่าแผนก R&D ในบริษัทต่าง ๆ
    • หน่วยงานรัฐ เช่น กระทรวงวิทยาศาสตร์ องค์การเภสัช โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา
    • นักวิทยาศาสตร์ในโครงการ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา วิเคราะห์ข้อมูล หรือทำแล็บให้กับโครงการที่ต้องการทักษะเฉพาะทาง
  • ประสบการณ์การทำงาน และผลงานที่มากขึ้น เป็นตัวกำหนดโอกาสเติบโตในสายงาน 
  • สามารถเรียนต่อได้ และเมื่อมีวุฒิการศึกษาที่สูงขึ้น จะได้ทำงานที่ยากขึ้นและรับผิดชอบมากขึ้น เช่น เป็นที่ปรึกษา ช่วยออกแบบโครงการ ช่วยวิเคราะห์ผลการทดลองที่ยากขึ้น หรือต้องการความรู้เฉพาะทางที่มากขึ้น ซึ่งจะได้ผลตอบแทนที่มากขึ้น
  • ค่าตอบแทนของนักวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ที่ทำงานในองค์กรรัฐ เงินเดือนสำหรับปริญญาตรี ประมาณ 20,000 บาท ปรับเพิ่มขึ้นตามวุฒิ โดยปริญญาเอกจะได้เงินเดือนมากกว่า 30,000 บาท ส่วนองค์กรเอกชนอาจมีค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนที่มากกว่า
  • แต่ละองค์กรมีค่าตอบแทนอื่น ๆ และสวัสดิการแตกต่างกันไป เช่น
    • บางองค์กรมีค่าทำงานล่วงเวลา ในขณะที่บางองค์กรไม่มีค่าล่วงเวลา แต่มีค่าตำแหน่ง
    • บางโครงการได้ผลตอบแทนจากการร่วมงานเป็นเงิน หรือเครดิตที่เป็นชื่อร่วมวิจัยปรากฏในงาน
    • มีโอกาสเพิ่มทักษะ และความรู้ในการทำงาน เพื่อใช้ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ
  • ความแตกต่างในการทำงานในองค์กรรัฐและองค์กรเอกชน
    • เงินเดือนเริ่มต้นในบางองค์กรเอกชนอาจมากกว่าเงินเดือนเริ่มต้นในองค์กรรัฐ
    • หากทำงานในองค์กรที่ประกอบด้วยกลุ่มคนหลายสายงาน อาจได้ทำงานในขอบเขตที่กว้าง และหลากหลายกว่า)
  • คุณค่าของอาชีพนักวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์คือการได้พบอะไรใหม่ เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติที่ไม่มีใครรู้ก่อนหน้านี้ และเราได้รู้ ได้ค้นพบ และจะเป็นจุดเริ่มต้นในการต่อยอดความรู้อื่น ๆ ต่อไป
  • สิ่งที่ต้องแลกมา
    • ร่างกาย: ขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของแต่ละคน หากไม่ได้ดูแล นั่งท่าเดิมซ้ำ ๆ นาน ๆ จะทำให้ปวดหลังได้
    • จิตใจ: อาจต้องพบกับความผิดหวังกับผลแล็บที่ไม่สำเร็จซ้ำ ๆ หรืออาจมีความกดดันจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น ข้อจำกัดและข้อตกลงของทุนวิจัยที่รับมา หรือ การทำงานกับคนกลุ่มใหญ่ จำเป็นต้องมีการส่งต่องาน เพื่อนำผลการทดลองของทุกส่วนไปประกอบการวิเคราะห์ ดังนั้นเราจะไม่สามารถทำงานอย่างล่าช้าได้ เป็นต้น
    • การเงิน: ค่าตอบแทนไม่สูงเท่าสายงานอื่น ๆ และปรับเพิ่มค่อนข้างช้า
  • สายวิชาชีพนักวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ได้ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาช่วยในการทำงานนานแล้ว เช่น การใช้เครื่องมือที่ทำงานอัตโนมัติ (Automate) ช่วยประหยัดเวลาและแรงงานคน ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้ต้องพัฒนาตนเองมากขึ้น เพื่อไม่ให้ถูกแทนที่ความสามารถด้วยเครื่องมือ Automate แต่ยังไม่น่าจะมาแทนที่นักวิทยาศาสตร์ทั้งหมดได้ในระยะอันใกล้นี้
  • ภัยพิบัติหรือสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่นโรคระบาด จะกระทบในส่วนการทำแล็บ ที่ไม่สามารถนำเครื่องมือมาทำแล็บที่บ้านได้

ภาพยนตร์ ซีรีย์ นิยายวิทยาศาสตร์ แนวเหนือธรรมชาติ หรือแนวสืบสวน เพื่อต่อยอดจินตนาการ กระตุ้นความคิด เช่น

: ซีรีย์ 1899 (ผลงานของ Baran bo Odar)

: หนังสือรวมเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ “เสี้ยวบทสนทนานิรันดร์”

: หนังสือรวมเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ “มายามนุษย์เทียม”

: ชุดหนังสือของนักเขียน Haruki Murakami

: ซีรีย์หนังสือ “Sherlock Holmes”

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • สายวิทย์-คณิต
  • สายศิลป์-คำนวณ
  • สายศิลป์-ภาษา
  • ปวช. หรือเทียบเท่า *บางสถาบันรับสายนี้

 

ปริญญาตรี เช่น

  • คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ 
  • คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • คณะสหเวชศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์

 

ปริญญาโท เช่น

  • คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
  • คณะสหเวชศาสตร์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ 
  • คณะแพทย์ศาสตร์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ 

 

ปริญญาเอก เช่น

  • คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปรัญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ 
  • คณะวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต 
  • คณะสหเวชศาสตร์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ 
  • คณะแพทย์ศาสตร์ วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • คณะแพทย์ศาสตร์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์(หลักสูตรนานาชาติ) 

 

*ข้อมูล ณ ปี 2567