ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์

BRAND'S BRAIN CAMP

ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์

ผู้จัดการเรียนการสอนนอกชั่วโมงเรียน โดยสอนในสาขาวิชาหรือสอนทักษะที่ตัวเองเชี่ยวชาญให้แก่ผู้เรียนโดยตรง
English_teacher_pana_5e073d4b04
  • วิเคราะห์ผู้เรียน และออกแบบการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสม
  • วางแผนและเตรียมความพร้อมสำหรับการสอน
  • สอน ให้คำแนะนำ สนับสนุนเพื่อเสริมทักษะและความรู้แก่ผู้เรียน
  1. ทำการนัดหมาย ตกลงชั่วโมงในการเรียน พูดคุยเพื่อระบุความคาดหวัง กับผู้เรียน 
  2. วิเคราะห์ผู้เรียน ทั้งประเมินความรู้ความสามารถ ความต้องการ และวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน 
  3. วางแผนและออกแบบการสอน รวมถึงจัดเตรียมสื่อการสอน  ที่เหมาะสมกับผู้เรียน
  4. ทำการสอนตามวันเวลาที่นัดหมาย ใช้วิธีการสอนตามที่ออกแบบไว้ เพื่อให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ก่อนเรียน 
  5. ให้คำแนะนำและสนับสนุน ช่วยให้นักเรียนพัฒนาจุดที่ต้องแก้ไข ตลอดจนให้คำแนะนำในการเตรียมตัวสำหรับการสอบหรือการเรียนต่อในระดับสูงกว่า 
  6. ทำการประเมินความคืบหน้าและการเรียนรู้ของนักเรียนเพื่อสื่อสารผลไปยังผู้ปกครองและเพื่อปรับปรุงพัฒนาการสอนในครั้งต่อไป
  1. ผู้ประกอบการสถาบันการศึกษา
  2. เซลล์ขายคอร์สเรียน
  3. เจ้าหน้าที่ธุรการประจำสถาบันการศึกษา
  • ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ ทำงานในสถาบันการศึกษาหรือมีสถาบันเป็นของตัวเอง
  • สถานที่และเวลาการทำงานขึ้นอยู่กับการจัดตารางของสถาบันหรือตามการตกลงกับผู้เรียน โดยอาจเป็นชั่วโมงหลังเลิกเรียน  วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ หรือช่วงปิดภาคเรียน
  1. ความรู้ ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาหรือทักษะที่ต้องการสอน
  2. ทักษะการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนการวัดผลและประเมินผล
  3. ทักษะในการสื่อสาร ถ่ายทอดความรู้
  4. ความอดทน เข้าใจในความแตกต่างหลากหลายของผู้เรียน
  5. ทักษะในการสร้างสัมพันธ์กับนักเรียนเพื่อให้นักเรียนมีความสุขและมีแรงจูงใจในการเรียน
  6. พัฒนาตนเองตลอดเวลา  เพื่อปรับปรุงคุณภาพการสอนให้ดียิ่งขึ้น
  • ผลตอบแทนเริ่มต้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ระดับการศึกษาของนักเรียนที่สอน ระยะเวลาการสอน ความชำนาญและความเชี่ยวชาญของครู และรูปแบบการสอน (เป็นติวเตอร์ส่วนตัวหรือติวเตอร์ประจำสถาบัน)
  • เนื่องจากการแข่งขันด้านวิชาการของนักเรียนนักศึกษาในประเทศที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ “ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์” จึงเป็นหนึ่งในอาชีพที่ได้รับความนิยมมากขึ้น 
  • เป็นอาชีพที่ค่อนข้างอิสระ ทำให้ในปัจจุบันมีผู้คนจำนวนหนึ่งเลือกประกอบอาชีพนี้ในลักษณะงานเสริมหรืออาชีพที่สอง
  • การเติบโตในอาชีพ (Career Path) ของ “ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์” ตัวอย่างเช่น
    • ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์พาร์ทไทม์ 
    • ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ประจำสถาบัน
    • ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์ ระดับมืออาชีพ มีชื่อเสียงในวงการ
  • ความยากและท้าทายของอาชีพ “ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์”
    • ต้องสามารถจัดการเวลาและกำหนดตารางสอนให้เข้ากับนักเรียนหลายคน
    • ต้องทำงานกับนักเรียนที่มีระดับความรู้ ความสามารถที่แตกต่างหลากหลาย 
    • ต้องคอยปรับตัวและปรับเปลี่ยนการสอนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและความต้องการของนักเรียนอยู่เสมอ 
  • สิ่งที่เป็นความเสี่ยงของอาชีพนี้ คือ
    • อาจเจอกับความเครียด ความกดดันที่เกิดจากความคาดหวังของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อครู
  • YouTube ที่มีเนื้อหาแนะนำเกี่ยวกับ “ครูสอนพิเศษ/ติวเตอร์”
    • TruePlookpanya Channel. (2017, May 12). AdGang60 : 47 เส้นทางอาชีพ ติวเตอร์ [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=e73pS0iP6K4 
    • We Mahidol. (2020, August 13). ครูสอนภาษาอังกฤษออนไลน์ อาชีพนี้ทำอะไร | We Mahidol [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=5Rr4oieUE2M 
    •  จบแล้วไปไหน. (2023, March 1). จบแล้วไปไหน | EP.2 ติวเตอร์ – พี่ฟ้า Engbypfah [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=R6wPOS5R_80  
    • JSL Global Media. (2016, August 28). Perspective : ครูลูกกอล์ฟ | ครูสอนภาษาสุดแนวแห่ง ANGKRIZ [28 ส.ค. 59] Full HD [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=xeGuOw_Auck 
    • StartDee. (2021, April 21). The Suitcase EP.4 | ย้อนวัยเรียนไปกับพี่ฟาโรสแห่ง Farose Academy [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=fEXyK1WR1-U 
    • มีนาคม. (2022, May 17). กว่าจะมาเป็นติวเตอร์ แบบ “พี่โบ๊ท Sci Story” | เล่าเข้มเข้ม [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=En4LG2ZJ_fo

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • เปิดรับทุกสายการเรียน วุฒิจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า

 

ปริญญาตรี เช่น

  • คณะใดก็ได้ ที่
    • ตรงกับวิชาที่อยากสอนหรือเป็นติวเตอร์ เช่น หากสนใจเป็นติวเตอร์วิชาภาษาอังกฤษ ก็ควรมีวุฒิป.ตรี คณะอักษรศาสตร์/ คณะศิลปศาสตร์/ คณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ
    • เคยมีประสบการณ์การใช้ชีวิตที่ต่างประเทศ เข้าใจหลักภาษา การใช้ภาษา และวัฒนธรรมต่างๆ 
    • เข้าใจเนื้อหาหลักสูตรของช่วงชั้นที่จะสอน 
    • ผ่านการสอบวัดระดับ ทดสอบ หรือเคยผ่านการประกวดแข่งขันในเวทีที่มีความน่าเชื่อถือ สำหรับบางสาขาวิชา เช่น สอบวัดระดับด้านภาษา

 

*ข้อมูล ณ ปี 2567

พนิตา พรหมรัตน์. (2559). อิทธิพลที่มีต่อการเลือกประกอบอาชีพเป็นตวิเตอร ์ในกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย. สารนิพนธ์, บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

      สุนทร โคตรบรรเทา. (2552). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน

      E-Design Studio. (2565).คุณสมบัติที่ครูพิเศษต้องมี. https://e-designstudio.com/

https://a-chieve.org/content/career-content/career-category-7/career-content-84