นักเศรษฐศาสตร์ (ในหน่วยงานภาครัฐ)

BRAND'S BRAIN CAMP

นักเศรษฐศาสตร์ (ในหน่วยงานภาครัฐ)

นักวิเคราะห์เพื่ออธิบายสถานการณ์ที่ซับซ้อน หาคำตอบและแนวทางแก้ปัญหา หรือพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ และถ่ายทอดความรู้นั้น ๆ ให้กับผู้อื่นเพื่อนำไปตัดสินใจหรือใช้ประโยชน์ต่อได้

Manage_money_pana_39eb184264

นักเศรษฐศาสตร์ต้องอัพเดทข่าวสารและความรู้ รวมถึงศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ หลากหลาย โดยอาจไม่จำเป็นต้องเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เท่านั้น อาจเป็นข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม หรือนโยบายทางการเมือง เพื่อทำความเข้าใจหรือเชื่อมโยงข้อมูลได้ดีขึ้น เมื่อคิดวิเคราะห์คำตอบหรือแนวทางแก้ปัญหาออกมาได้แล้ว นักเศรษฐศาสตร์ต้องสามารถนำเสนอองค์ความรู้นั้นออกมาในรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น บทความ การนำเสนอ การให้คำปรึกษา การบรรยาย การนำเสนอบนเวทีหรือการประชุมต่างๆ เพื่อเผยแพร่ให้เป็นที่เข้าใจและนำไปใช้ต่อได้ โดยอาจแบ่งสาขาของนักเศรษฐศาสตร์ตามความเชี่ยวชาญและความสนใจ เช่น นักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม นักเศรษฐศาสตร์มหภาค นักเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ นักเศรษฐศาสตร์เชิงปริมาณ เป็นต้น

การทำงานในแต่ละวันอาจไม่ได้มีกิจวัตรประจำวันตายตัว ขึ้นอยู่กับองค์กรที่ทำงานและสถานการณ์ปัจจุบัน โดยทั่วไปแล้ว ในแต่ละวันนักเศรษฐศาสตร์จะต้องอัพเดทข่าวสารข้อมูล จัดลำดับความสำคัญของงานวิเคราะห์วิจัยที่กำลังทำอยู่ หากมีประเด็นที่เกิดจากสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งอาจสร้างผลกระทบเร่งด่วน ก็จะนำประเด็นนั้นๆ มาวิเคราะห์และนำเสนอก่อน 

ขั้นตอนในการทำงานของนักเศรษฐศาสตร์ในการคิดวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ

  1. รับโจทย์ หรือคิดโจทย์ เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ที่ต้องการคำตอบหรือแนวทางการปฏิบัติ เช่น เมื่อเกิดสถานการณ์ประเทศรัสเซียรุกรานประเทศยูเครน ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบด้านใดบ้าง
  2. รวบรวมและหาข้อมูล ความรู้ เพิ่มเติม
  3. เชื่อมโยงข้อมูล หาความสัมพันธ์ วิเคราะห์หาคำตอบ
  4. ทำเอกสารโครงสร้างข้อมูล นำเสนอเหตุปัจจัย ผลกระทบ คำตอบที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล
  5. นำเสนอองค์ความรู้

ขึ้นอยู่กับองค์กรที่ทำงานอยู่ และลักษณะงานที่ทำ หากเป็นอาจารย์หรือนักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงานประเด็นที่สามารถรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลได้ด้วยตัวเอง ก็อาจไม่ต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น  

แต่ถ้าหากทำงานในองค์กรใหญ่ที่ทำงานในประเด็นที่เกินขอบเขตความรู้ของตนเอง อาจจำเป็นต้องร่วมมือเพื่อถามหาความเห็น และขอข้อมูลความรู้ กับผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ

ตัวอย่างอาชีพอื่นๆ ที่นักเศรษฐศาสตร์อาจทำงานร่วมด้วย เช่น

  1. นักสถิติ นักวิเคราะห์ข้อมูล นักเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นผู้ที่มีข้อมูล หรือเตรียมข้อมูลให้กับนักเศรษฐศาสตร์
  2. ผู้เชี่ยวชาญศาสตร์แต่ละแขนงที่นักเศรษฐศาสตร์มักทำวิจัยร่วม เพื่อต่อยอดองค์ความรู้
  3. นักออกแบบ นักสื่อสาร เป็นผู้ที่นำสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์คิดวิเคราะห์มานำเสนอและเผยแพร่ให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่ายและขยายวงกว้างมากขึ้น

นักเศรษฐศาสตร์อาจทำงานที่ออฟฟิศหรือไม่ก็ได้ สิ่งที่จำเป็นในการทำงานคือคอมพิวเตอร์ที่สามารถหาข้อมูล สามารถประชุมออนไลน์ได้ มีโปรแกรมที่จำเป็น เช่น โปรแกรมทางเศรษฐมิติ EViews, STATA R หรือ python


 

ชั่วโมงการทำงานขึ้นอยู่กับองค์กร อาจเป็นเวลาทำงานทั่วไป (8:30 – 16:30 น.) ในวันจันทร์-ศุกร์ แต่หากมีเหตุหรือประเด็นที่มีความเร่งด่วน และผลกระทบมากก็อาจต้องทำงานเกินเวลาให้งานเสร็จเพื่อใช้ประชุมหรือใช้งานตามกำหนดเวลา หากมีการทำงานร่วมกับองค์กรหรือประเทศอื่นๆ อาจต้องมีการประชุมหรือสัมนานอกเวลาทำงาน ขึ้นอยู่กับสไตล์การทำงานขององค์กรและหัวหน้างาน

  1. ความสามารถในภาษาอังกฤษ เนื่องจากข้อมูลความรู้ส่วนมากเป็นภาษาอังกฤษ
  2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) การคิดต่อยอด การวิพากษ์
  3. ทักษะการสังเกต การใฝ่รู้ ช่างสงสัย เก็บรายละเอียดข้อมูลต่างๆ แล้วนำมาเชื่อมโยงต่อภาพ สังเคราะห์ความรู้ขึ้นมาได้
  4. ทักษะการทำงานเป็นทีม
  5. ทักษะการเล่าเรื่อง การนำเสนอความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจ และอธิบายให้ผู้ที่เห็นต่างคล้อยตามได้
  6. ความรู้ทางสังคม ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจการเมือง จะช่วยให้เข้าใจบริบททางสังคม การตัดสินใจ นโยบายของแต่ละพื้นที่
  7. หากมีความรู้ในภาษาที่ 3 เช่นภาษาจีน หรือรัสเซีย จะทำให้เข้าใจและเข้าถึงข้อมูลความรู้เฉพาะทางในภาษานั้นๆ ได้ เนื่องจากปัจจุบันยังมีข้อมูลในหลายๆ ภาษาที่ไม่ได้รับการเผยแพร่ตามมาตรฐานสากล หรือตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ
  8. หากมีความรู้ในภาษาที่ 3 เช่นภาษาจีน หรือรัสเซีย จะทำให้เข้าใจและเข้าถึงข้อมูลความรู้เฉพาะทางในภาษานั้นๆ ได้ เนื่องจากปัจจุบันยังมีข้อมูลในหลายๆ ภาษาที่ไม่ได้รับการเผยแพร่ตามมาตรฐานสากล หรือตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ
  • นักเศรษฐศาสตร์ในองค์กรอาจมีลำดับตำแหน่งดังนี้
  1. เศรษฐกร: เป็นผู้มีหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น เป็นผู้ช่วยวิจัย หรือ เป็นผู้รับโจทย์ ทำข้อมูล
  2. เศรษฐกรอาวุโส: รับบทบาทเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง หรือ เป็นหัวหน้าโครงการ
  3. ระดับบริหารตั้งแต่หัวหน้าทีมถึงผู้อำนวยการ: ทำหน้าที่จัดการและให้คำแนะนำแก่เศรษฐกร และเศรษฐกรอาวุโสในทีม รวมถึงคอยบริหารทีม กำหนดโจทย์และนโยบาย และตำแหน่งนี้มักเป็นผู้ออกไปสื่อสารกับสาธารณชนนอกองค์กร
  • เงินเดือนแตกต่างกันไปตามประเภทองค์กร เช่น องค์กรรัฐบางองค์กร ระดับปริญญาตรีประมาณ 28,000 บาท ปริญญาโท 31,000 บาท เป็นต้น ส่วนสวัสดิการพื้นฐานก็ขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กรเช่นกัน
  • ปัจจุบัน AI มีความสามารถเปรียบเสมือนมนุษย์อัจฉริยะที่คิดได้เก่งและเร็ว ความท้าทายของนักเศรษฐศาสตร์ที่มีต่อ AI คือ ศักยภาพของนักเศรษฐศาสตร์ที่มีเหนือ AI ในด้านความสามารถในการคิดโจทย์ และการรวบรวมข้อมูลจากหลายๆ มิติ โดยเฉพาะมิติด้านความเข้าใจในพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่ง AI ยังทำไม่ได้ โดย AI เหมาะกับการนำมาใช้เป็นเครื่องมือทุ่นแรงกับโจทย์ที่มีข้อมูลเฉพาะ การคิดซับซ้อน การหาผลลัพธ์ซ้ำๆ การสร้างโมเดลจำลอง ช่วยทุ่นแรงใน แต่ AI ยังไม่สามารถคิดเชื่อมโยง หาประเด็นที่นำมาเป็นโจทย์ที่นำไปสู่คำตอบได้เท่ามนุษย์
  •  (ประเด็นน่าจะซ้ำกับข้อก่อน เดี๋ยวเพิ่มให้อีกข้อ)
  • ความท้าทายอีกเรื่องคือ สถานการณ์โลกมีความไม่แน่นอนสูงมาก และเปลี่ยนไปทุกวัน หลักเศรษฐศาสตร์ที่เราร่ำเรียนมาสมัยมหาวิทยาลัยอาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด เพราะหลักทฤษฎีเหล่านั้นล้วนเป็นบทเรียนที่มาจากอดีตอีกที ดังนั้น โจทย์ในโลกปัจจุบันจึงต้องอาศัยการประยุกต์และการทำความเข้าใจบริบทรอบด้าน พร้อมกับต้องหมั่นหาความรู้ ไอเดียใหม่ๆ ตลอดเวลา
  • กระแสปัจจุบันที่กำลังเป็นที่นิยมคือความรู้ทางด้าน Data Analytic 
  • ความรู้เรื่อง Geopolitics ปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ เข้าใจบริบททางสังคมให้เข้าใจถ่องแท้
  • อ่าน: เพจความรู้ The 101 world (https://www.the101.world/) , Thaipublica (https://thaipublica.org/) , บทความที่อ้างอิงหลักการทางเศรษฐศาสตร์
  • ฟัง: The Standard Wealth (https://www.youtube.com/channel/UCCbmc3WgGqICujNEjMWrGdQ) , ข่าวสารความเคลื่อนไหว การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • สายวิทย์-คณิต
  • สายศิลป์-คำนวน
  • สายศิลป์-ภาษา
  • ปวช. หรือเทียบเท่า

 

ปริญญาตรี เช่น

  • คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
  • คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ 
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
  • คณะการบัญชีและการจัดการ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
  • คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
  • คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
  • คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
  • สำนักวิชาการจัดการ สาขาเศรษฐศาสตร์
  • สำนักวิชาการการบัญชีและการเงิน สาขาเศรษฐศาสตร์
  • คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ 

 

ปริญญาโท เช่น

  • คณะเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
  • คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ 
  • คณะการบัญชีและการจัดการ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจและนวัตกรรมทางธุรกิจ
  • คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
  • คณะเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐกิจดิจิทัล

 

ปริญญาเอก เช่น

  • คณะเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ 
  • คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
  • คณะเศรษฐศาสตร์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐกิจดิจิทัล

 

*ข้อมูล ณ ปี 2567