ผู้ตรวจสอบบัญชี

BRAND'S BRAIN CAMP

ผู้ตรวจสอบบัญชี

ผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของเอกสารทางการเงินของแต่ละบริษัท

Invoice_pana_b3f95da185
  • วิเคราะห์และตรวจสอบบัญชีและเอกสารทางการเงินว่าเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานงบการเงินหรือไม่ มีข้อผิดพลาดตรงไหน
  • ลงพื้นที่เพื่อพูดคุย ศึกษาข้อมูลการทำธุรกิจ และตรวจสอบหลักฐานเพื่อยืนยันความถูกต้องของบัญชีและเอกสารการเงิน
  • ให้คำปรึกษาเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดในการทำบัญชี
  • รับมอบหมายงานจากลูกค้าหรือหัวหน้างานว่าจะตรวจสอบบัญชีของบริษัทใด
  • ศึกษา ค้นคว้า ทำความเข้าใจวิธีการประกอบธุรกิจนั้น
  • วางแผนการตรวจสอบบัญชี ว่าต้องตรวจแบบไหน ใช้ข้อมูลอะไร มีเรื่องไหนที่ต้องลงรายละเอียดเป็นพิเศษ และช่วงเวลาไหนที่ต้องลงพื้นที่ไปตรวจบ้าง
  • ตรวจสอบความถูกต้องจากเอกสารที่ลูกค้านำส่งให้ ลงพื้นที่ดูหน้างานของลูกค้า รวมถึงพูดคุยสอบถามกับเจ้าหน้าที่บัญชีหรือผู้บริหารของบริษัทลูกค้าโดยจะใช้เวลาประมาณ 1 – 4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดและขนาดของบริษัทลูกค้า
  • แจ้งลูกค้าเพื่อปรับปรุงข้อมูลบัญชี หากตรวจสอบเจอจุดที่ผิดพลาด
  • ทำรายงานของผู้ตรวจสอบบัญชี
  1. เจ้าหน้าที่บัญชีของแต่ละบริษัท ที่จะนำส่งเอกสารและข้อมูลต่าง ๆ มาให้ หรือติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
  2. ทนายความหรือนักกฎหมาย ในกรณีที่มีเหตุการณ์ที่ต้องเกี่ยวข้องกับคดีความ เช่น การชำระหนี้ เป็นต้น
  3. ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ เนื่องจากผู้ตรวจสอบบัญชีต้องมีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจด้านนั้น ๆ เพื่อนำมาประกอบกับการตรวจสอบ
  • ไปจนถึงบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่
  • การตรวจสอบบัญชีจะต้องลงพื้นที่เข้าไปในโรงงาน คลังสินค้า หรือบริษัทของลูกค้า ด้วยเสมอ เพื่อตรวจสอบจำนวนสินค้า เครื่องจักร ทรัพย์สิน ฯลฯ 
  • ชั่วโมงทำงานของอาชีพนี้ อยู่ระหว่าง 8-10 ชั่วโมงต่อวัน มีการทำงานเลยเวลาไปจนดึก โดยเฉพาะช่วงที่ทุกบริษัทจะต้องปิดบัญชีพร้อมกัน
  1. จบการศึกษาทางสาขาวิชาการบัญชีที่สภาวิชาชีพบัญชีรับรองในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

จากนั้นทำการฝึกงานตรวจสอบบัญชี เพื่อสอบเป็นผู้ตรวจสอบบัญชี

  1. มีความอดทน เพราะงานบัญชีเป็นงานหนัก มีข้อมูลและรายการที่ต้องตรวจสอบเยอะมาก
  2. มีความละเอียดรอบคอบ
  3. มีความกระตือรือร้นและรู้จักหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อรู้จักธุรกิจที่หลากหลายและติดตามมาตรฐานการบัญชีที่เปลี่ยนแปลงทุกปีได้ทัน
  4. มีความช่างสังเกตและตั้งคำถาม
  5. มีความยืดหยุ่น รู้จักปรับตัวเพื่อทำงานร่วมกับทีม เจ้าหน้าที่บัญชีของลูกค้า และตัวลูกค้า ที่มีความหลากหลาย
  • ระดับเงินเดือนของผู้ตรวจสอบบัญชีขึ้นอยู่กับประสบการณ์และตำแหน่งงาน อาจจะอยู่ในช่วง 30,000 – 50,000 บาท หรือมากกว่า
  • เส้นทางเติบโตมาเป็นผู้ตรวจสอบบัญชี มีดังนี้
    • ผู้ช่วยผู้ตรวจสอบบัญชี เพื่อฝึกหัดงานกับผู้ฝึกที่ได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพบัญชี ระยะเวลา 3-5 ปี (หรือไม่น้อยกว่า 3,000 ชั่วโมง)
    • ผู้ตรวจสอบบัญชี (Certified Public Account – C.P.A.) ซึ่งต้องมีการเก็บชั่วโมงอบรมความรู้กับสภาวิชาชีพบัญชีในทุก ๆ ปี ปีละ 40 ชั่วโมง
    • ผู้บริหาร (director) หรือ หุ้นส่วน (partner) ของบริษัท
  • ผู้ตรวจสอบบัญชียัสามารถเติบโตข้ามสายงานไปเป็น หัวหน้าฝ่ายการเงิน (Account Manager), ผู้บริหารสูงสุดทางการเงิน (Chief Financial Officer – CFO) หรือเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ก็ได้
  • อาชีพนี้ไม่ได้เป็นงานที่น่าเบื่อเพราะมีโอกาสได้เห็น เรียนรู้ ในหลายประเภทธุรกิจ ซึ่งเป็นเรื่องแปลกใหม่น่าตื่นเต้นเสมอ
  • แต่ละประเภทธุรกิจมีหลักการบันทึกบัญชีที่ต่างกันตามลักษณะการดำเนินงาน ผู้ตรวจสอบบัญชีจึงต้องเรียนรู้และเข้าใจการทำธุรกิจหลากหลายประเภท
  • อาชีพนี้ต้องการทั้งความละเอียดรอบคอบและความคล่องแคล่ว ลุย เพราะการทำงานมีทั้งการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ เช็คข้อมูล อ่านรายงาน และการลงพื้นที่จริงเพื่อนำข้อมูลมาประกอบการวิเคราะห์รายงานการเงิน
  • อาชีพนี้เป็นอาชีพที่ต้องทำงานแข่งกับเวลาและต้องไม่มีความผิดพลาด ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความเครียดในการทำงาน

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับงบการเงินได้จากเว็บไซต์ของตลาดหลักทรัพย์ที่รวบรวมงบการเงินของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไว้ (https://classic.set.or.th/set/commonslookup.do)

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • สายวิทย์-คณิต
  • สายศิลป์-คำนวน
  • สายศิลป์-ภาษา
  • ปวช. หรือเทียบเท่า

 

ปริญญาตรี เช่น

  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาการบัญชี
  • คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการบัญชี
  • คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาการบัญชี
  • คณะวิทยาการจัดการ สาขาบัญชี
  • คณะบริหารศาสตร์ สาขาบัญชี
  • คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร สาขาวิชาบัญชี
  • วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว สาขาการบัญชี
  • คณะสหวิทยาการ สาขาการบัญชี

 

ปริญญาโท เช่น

  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี บัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี
  • คณะบริหารธุรกิจ บัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี
  • คณะวิทยาการจัดการ บัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี
  • คณะบัญชี บัญชีมหาบัณฑิต

 

ปริญญาเอก เช่น

  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบัญชี 
  • คณะการบัญชีและการจัดการ ปรัชญาดุษฎี สาขาวิชาการบัญชี
  • คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบัญชี
  • วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี
  • คณะบัญชี บัญชีดุษฎีบัณฑิต 

 

*ข้อมูล ณ ปี 2567