วิศวกรเครื่องกล

BRAND'S BRAIN CAMP

วิศวกรเครื่องกล

ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบและพัฒนาเครื่องยนต์กลไกให้สามารถใช้งานได้ โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม

people_creating_robot_pana_12325a614c
  • ออกแบบเครื่องจักรกล อุปกรณ์ ชิ้นส่วนต่างๆ โดยใช้หลักการทางวิศวกรรม คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ที่คำนึงถึงความปลอดภัย ประสิทธิภาพ ต้นทุน และสิ่งแวดล้อม เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น
  • ควบคุมดูแลการผลิต การประกอบชิ้นส่วน  การทดสอบเครื่องจักร อุปกรณ์ ต่างๆ
  • วางแผนและจัดการโครงการทางวิศวกรรมเพื่อให้โครงการเสร็จสมบูรณ์ตรงตามเวลาและงบประมาณ
  • วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ด้านวิศวกรรมเครื่องกล
  1. รับข้อมูลเพื่อเข้าใจปัญหาและความต้องการของลูกค้า
  2. ใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อออกแบบ สร้างตัวต้นแบบ 
  3. ตรวจสอบความถูกต้องของตัวต้นแบบด้วยการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการทำงาน ความเครียด แรงดัน การสั่นสะเทือน ของโครงสร้าง ชิ้นส่วนต่างๆ 
  4. เมื่อถูกต้องดีแล้วจึงดำเนินการทำแม่พิมพ์เพื่อผลิตชิ้นส่วนในปริมาณมาก
  5. ควบคุมดูแลการผลิตให้เป็นไปตามแผนการทำงานและมาตรฐานที่ตั้งไว้
  6. ส่งมอบงานและพร้อมให้คำแนะนำเรื่องวิธีการใช้งาน การบำรุงรักษา ผ่านการสอนงาน ฝึกอบรม หรือทำคู่มือให้กับผู้ใช้งาน
  7. ทำการติดตั้ง ประกอบ ซ่อมบำรุง เครื่องจักรกล อุปกรณ์ หรือระบบต่างๆ ให้สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์
  1. ช่างเทคนิค
  2. ฝ่ายขายของโรงงานที่รับผลิตทำตัวแม่พิมพ์ ชิ้นส่วนต่างๆ
  3. วิศวกรโรงงานหรือวิศวกรอุตสาหกรรม
  • วิศวกรเครื่องกลสามารถทำงานได้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องกลหลายประเภท เช่น โรงงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ โรงงานผลิตเครื่องจักร โรงงานผลิตรถยนต์ เป็นต้น
  • ทำงานทั้งในสำนักงานและต้องเข้าไปที่โรงงานเพื่อดูการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์
  • เวลาทำงานของวิศวกรเครื่องกลโดยทั่วไปแล้วทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลา 5 วันต่อสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท และประเภทของงาน 
  • อาจมีการทำงานนอกเวลา หรือทำงานในวันหยุด ทำงานตอนดึก หากมีงานด่วนหรือเหตุการณ์ฉุกเฉิน
  1. ความรู้ทางวิศวกรรมเครื่องกล เช่น หลักกลศาสตร์ ความร้อนพลศาสตร์ การทำงานของเครื่องจักร  วิศวกรรมวัสดุ
  2. ทักษะทางคณิตศาสตร์และการคิดคำนวณ
  3. ทักษะการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา สามารถวิเคราะห์ปัญหา หาสาเหตุ หาแนวทางแก้ไขโดยตัดสินใจ เลือกแนวทางที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบ มีตรรกะได้
  4. ทักษะการสื่อสารที่ดี สามารถสื่อสารแนวคิดการออกแบบ เขียนรายงานโครงการได้
  • วิศวกรเครื่องกล มีหลากหลายสายงานย่อย เช่น วิศวกรการผลิต วิศวกรซ่อมบำรุง วิศวกรควบคุมคุณภาพ วิศวกรระบบก่อสร้างภายในอาคาร ฯลฯ ทำให้มีลักษณะงานที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสายงาน อีกทั้งยังแตกต่างกันไปตามอุตสาหกรรมที่ประจำอีกด้วย เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องจักรโรงงาน เป็นต้น 
  • ผลตอบแทนเงินเริ่มต้นที่ 27,000 – 42,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์การทำงานและประเภทของอุตสาหกรรมที่ทำงาน
  • ความยากและท้าทายของอาชีพ “วิศวกรเครื่องกล” คือ  
  • วิศวกรเครื่องกลมีบทบาทสำคัญในการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรในการผลิตและควบคุมเครื่องจักรผลิตสินค้าต่าง ๆ ดังนั้นจึงมีความรับผิดชอบสูงต่อความปลอดภัยและคุณภาพของงาน เพราะการทำงานผิดพลาด อาจส่งผลต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อมได้
  • วิศวกรเครื่องกลอาจต้องเผชิญกับปัญหาในการทำงาน เช่น ปัญหาการออกแบบ  

 ปัญหาการผลิต ปัญหาการก่อสร้าง ปัญหาทางเทคนิค ฯลฯ ซึ่งต้องอาศัยความอดทน ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการแก้ปัญหาเพื่อหาทางออก

  • ปัจจุบัน เทคโนโลยีกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้วิศวกรรมเครื่องกลต้องพัฒนา ตาม เพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น หุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ การพิมพ์สามมิติ ฯลฯ 
  • สิ่งที่เป็นความเสี่ยงของอาชีพ “วิศวกรเครื่องกล” คือ 
  • ความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ วิศวกรเครื่องกลบางคนต้องทำงานในสถานที่ก่อสร้าง โรงงาน หรือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ทำงานกับเครื่องจักรกล ไฟฟ้า ความร้อน สารเคมี หรือชิ้นส่วนโลหะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ถูกบาด ถูกตัด ถูกหนีบ ถูกไฟฟ้าช็อต ฯลฯ

ความเสี่ยงด้านสุขภาพ  การทำงานในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยฝุ่นละออง สารเคมี เสียงดัง ความร้อน หรือการทำงานหนักเป็นเวลานาน อาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น โรคทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง โรคกระดูกและข้อ โรคหัวใจ ฯลฯ

  • ช่อง YouTube ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาชีพวิศวกรเครื่องกล

ช่อง สจล. (2022, November 30). เรียนไปทําไร? EP.5 “วิศวกรรมเครื่องกล” [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=9xIspVtuDHg