นักออกแบบคาแรคเตอร์

BRAND'S BRAIN CAMP

นักออกแบบคาแรคเตอร์

ผู้ออกแบบตัวการ์ตูนหรือตัวละครที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ต่างๆ  อาจเป็นแบรนด์สินค้าของตัวเอง หรือใช้กับแบรนด์สินค้าหรือบริการอื่นๆ

Personalization_pana_12c3df1fcd
  • ออกแบบคาแรคเตอร์ตัวการ์ตูนหรือตัวละคร เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ต่างๆ โดยอาจนำไปใช้เป็นแบรนด์สินค้าของตนเอง หรือใช้กับแบรนด์สินค้าหรือบริการอื่นๆ 
  • ทำการขายหรือทำการตลาด (กรณีทำแบรนด์สินค้าคาแรคเตอร์ของตัวเอง) ผ่านแพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์ ตลาดนัดงานศิลปะ หรือวางขายที่หน้าร้านค้าที่ขายงานศิลปะต่างๆ
  1. คิดไอเดียเรื่องเล่า หาแรงบันดาลใจหรือหาเรื่องราวที่อยากสื่อสาร หรือ ประชุม พูดคุยกับผู้จ้างงานที่เป็นตัวแทนจากแบรนด์สินค้าหรือบริการ เพื่อรับโจทย์การจ้างงาน
  2. ออกแบบรูปลักษณ์ อุปนิสัย คุณสมบัติหรือลักษณะพิเศษของตัวการ์ตูนหรือตัวละครนั้นๆ โดยอิงจากเรื่องราวที่ต้องการจะสื่อสาร 
  3. วาดรูป หรือใช้โปรแกรมในการสร้างรูปภาพ ให้ออกมาเป็นโครงร่างตัวการ์ตูนหรือ

ตัวละคร ปรับแก้โครงร่างคาแรคเตอร์ไปมาจนออกมาชัดเจนตรงกับสิ่งที่อยากจะสื่อสาร หรือตรงกับความต้องการของผู้จ้างงาน 

  1. เก็บรายละเอียดจากโครงร่างที่ปรับแก้แล้ว เช่น ลงสี ลงลายเส้น เพื่อเติมความชัดเจนของสื่อสารผ่านงานคาแรคเตอร์ ก่อนส่งงานให้ผู้จ้างงานนำไปใช้ 
  2. คิดวิธีการนำคาแรคเตอร์ไปขายสู่ตลาด (กรณีทำแบรนด์สินค้าคาแรคเตอร์ของตัวเอง) ทดลองและพัฒนาคาแรคเตอร์ไปเป็นสินค้า โดยคำนึงถึงรูปแบบการใช้งาน วัสดุ/วัตถุดิบที่ใช้ผลิตสินค้า กระบวนการผลิต ทำความเข้าใจกลุ่มลูกค้า การทำการตลาด ช่องทางการขาย การตั้งราคา เป็นต้น
  3. ส่งงานไปสู่กระบวนการผลิตในกรณีที่ทำสินค้าคาแรคเตอร์ขาย  หรือส่งมอบงานให้กับผู้จ้างงาน
  4. ทำการตลาดออนไลน์ และออกบูธขายสินค้าที่ตลาดนัดงานศิลปะ (Art & Craft Market)
  1. นักออกแบบสามมิติ
  2. ผู้กำกับศิลป์
  3. นักการตลาด 
  4. ผู้ประกอบการ เจ้าของแบรนด์ เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก
  • สามารถทำงานได้จากทุกที่ที่อุปกรณ์ทำงานพร้อม สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศเอื้อให้สร้างสรรค์งานได้ อาจเป็นสตูดิโอของตนเอง หรือทำงานในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ

การออกแบบคาแรคเตอร์ เช่น บริษัทผลิตเกม สตูดิโอภาพยนตร์และแอนิเมชัน บริษัทออกแบบผลิตภัณฑ์

  • เวลาทำงานของนักออกแบบคาแรคเตอร์ค่อนข้างยืดหยุ่นและขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ประเภทของงาน หากเป็นงานที่ต้องสังกัดบริษัทก็อาจมีเวลาเข้าออกงานตามนโยบายของบริษัท หากเป็นงานอิสระ (Freelance) หรือธุรกิจส่วนตัว ก็จะสามารถจัดสรรเวลาได้ตามเดดไลน์ของงาน 
  • ความรู้ด้านศิลปะ เช่น แสงและเงา การลงสี การเลือกใช้โทนสี เป็นต้น
  • ทักษะการวาดรูป โดยไม่จำกัดอุปกรณ์ที่ใช้งาน อาจเป็น วาดด้วยดินสอหรือปากกาบนกระดาษ วาดด้วยปากกาและโปรแกรมในไอแพด หรือใช้โปรแกรมสร้างรูปภาพในคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  • ทักษะการสื่อสาร เพื่อพูดคุยรับโจทย์งานจากผู้จ้างงาน และนำเสนองานที่ตนเองคิด 
  • ทักษะการวิเคราะห์ ความต้องการของกลุ่มผู้ใช้งานหรือกลุ่มผู้รับสาร เพื่อออกแบบคาแรคเตอร์ให้ตรงใจกลุ่มผู้รับสาร
  • ความรู้เรื่องการออกแบบคาแรคเตอร์ เช่น การสื่อสารผ่านตัวการ์ตูนหรือตัวละคร 
  • ความรู้ในเรื่องกระบวนการผลิตสินค้า เงื่อนไขและข้อจำกัดของวัสดุที่ต้องใช้ในงานผลิต เพื่อช่วยให้สินค้าออกมามีคุณภาพสูง 
  • ความรู้ในเรื่องการตลาดและการขาย 
  • ความรู้ทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา การใช้เครื่องหมายเพื่อแสดงลิขสิทธิ์ การทำสัญญาจ้างงาน
  • ผลตอบแทน รายได้ในการทำแบรนด์สินค้าคาแรคเตอร์ของตัวเอง เฉลี่ยอยู่ที่ 15,000 -50,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับชื่อเสียง รูปแบบสินค้า การตลาด กำลังซื้อของกลุ่มลูกค้า เป็นต้น  ค่าจ้างงานออกแบบตัวการ์ตูนหรือตัวละครให้กับแบรนด์สินค้าหรือบริการอื่นๆ ขึ้นอยู่กับความประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของนักออกแบบคาแรคเตอร์ โดยงบประมาณต่อโปรเจกต์อยู่ที่ 7,000 – 30,000 บาท (งานขนาดเล็ก) หรือ 60,000 – 100,000 บาท (งานขนาดใหญ่)
  • โอกาสการเติบโตในสายงานอาชีพ
    • นักออกแบบคาแรคเตอร์ที่มีกลุ่มผู้ติดตามผลงานเป็นวงกว้าง มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญสูง มักได้ร่วมงานกับแบรนด์สินค้าเจ้าใหญ่ในตลาด
    • ผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจ จากการต่อยอดตัวการ์ตูนหรือตัวละครที่ออกแบบ ไปเป็นสินค้าหรือบริการในตลาด โดยมีจุดเด่นในการใช้คาแรคเตอร์เป็นตัวสื่อสารกับกลุ่มลูกค้า ทำให้แบรนด์ติดตลาด มีคนจดจำ สร้างยอดขายได้ดี
    • ผู้สอนออกแบบคาแรคเตอร์ เปิดคอร์สเรียนสอนเรื่องวิธีการสื่อสารผ่านคาแรคเตอร์
  • ความท้าทายในอาชีพนักออกคาแรคเตอร์
    • ต้องรับมือกับช่วงเวลาที่คิดงานไม่ออก หรือไม่มีแรงบันดาลใจในการออกแบบ ซึ่งอาจเป็นช่วงเวลาที่ สุขภาพกายและใจยังไม่พร้อม มีความเครียด/ความกังวลสะสม นักออกแบบคาแรคเตอร์ควรมีวิธีรับมือกับช่วงเวลานี้แบบเฉพาะตัว
    • นักออกแบบคาแรคเตอร์ต้องสื่อสารเพื่อให้มีความเข้าใจที่ตรงกันทั้งนักออกแบบและผู้จ้าง เพื่อผลิตงานที่มีคุณภาพ
    • เป็นอาชีพที่มีการแข่งขันในตลาดสูง นักออกแบบคาแรคเตอร์จึงต้องมีคาแรคเตอร์ที่ชัดเจน และรักษาฐานลูกค้าไว้เสมอ รวมถึงต้องมีแผนสำหรับรับมือกับช่วงเวลาที่งานจ้างน้อย หรือยอดขายสินค้าคาแรคเตอร์ไม่ดี
    • ต้องหมั่นทำการสำรวจ ทดลองสินค้ากับตลาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการ
    • อาจเผชิญกับความเสี่ยงที่จะโดนคัดลอกผลงานหรือขโมยผลงานไปใช้ นักออกแบบคาแรคเตอร์ต้องเตรียมใจให้พร้อมเมื่อวันนั้นมาถึง ทั้งการจัดการเรื่องกฎหมายและการดูแลจิตใจ
  • บทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ อาชีพนักออกแบบคาแรคเตอร์ 
  • Happening. (2021). แจ้งเกิด! 29 คาแรกเตอร์ไทยหน้าใหม่ ที่จะมอบพลังใจให้ผู้คน. Retrieved August 27, 2024, from https://happeningandfriends.com/article-detail/354?lang=th