แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

BRAND'S BRAIN CAMP

แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย กล้ามเนื้อ ระบบประสาท กระดูก และจิตใจ ของผู้ป่วยหลังจากบาดเจ็บหรือเป็นโรคที่ทำให้ร่างกายสูญเสียการทำหน้าที่บางอย่าง

Physical_therapy_exercise_pana_7b0e447c8a
  • ประเมินและวินิจฉัยโรคหรือความบกพร่องทางร่างกายของผู้ป่วย
  • ใช้วิธีการทางการแพทย์ การสั่งยาหรือทำกายภาพบำบัด เพื่อรักษาผู้ป่วยและส่งเสริมการฟื้นฟูร่างกาย
  • สั่งอุปกรณ์ช่วยเหลือหรือทดแทนการทำงานของร่างกาย เช่น ไม้ค้ำยัน, อวัยวะเทียม เป็นต้น
  • ติดตามผลการรักษา ให้คำแนะนำที่ช่วยส่งเสริมการฟื้นฟูร่างกาย เช่น การออกกำลังกายที่บ้าน การรับประทานอาหาร การจัดสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย
  1. วินิจฉัยผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเพื่อวางแผนการรักษา เช่น การซักประวัติผู้ป่วยอย่างละเอียด การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจทางรังสี เป็นต้น
  2. ประเมินผู้ป่วยและสร้างความเข้าใจถึงอาการหรือโรคแก่ผู้ป่วย  เช่น ความรุนแรงของโรคและภาวะที่ส่งผลต่อสมรรถภาพทางกาย ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เป็นต้น
  3. เลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย และแจ้งแผนการรักษาให้ผู้ป่วยและญาติทราบ
  4. ทำการรักษา เช่น การสั่งยาและทำหัตถการต่างๆ แนะนำการออกกำลังกาย กายภาพบำบัด

หรือสั่งอุปกรณ์ช่วยเหลือหรือทดแทนการทำงานของร่างกาย เป็นต้น ซึ่งบ่อยครั้งจะเป็นการรักษาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

  1. ติดตามและประเมินผลการรักษาและการฟื้นฟูของผู้ป่วยเป็นระยะ เพื่อปรับปรุงแผนการรักษาต่อไปให้เหมาะสม
  2. ฝึกอบรมผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการดูแลตนเอง ส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางจิตใจ
  1. ศัลยแพทย์
  2. พยาบาล
  3. เภสัชกร
  4. นักเทคนิคการแพทย์
  5. นักกายภาพบำบัด
  6. นักจิตวิทยา
  7. นักสังคมสงเคราะห์
  • โดยทั่วไปแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูจะทำงานในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน โดยเฉพาะในแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู 
  • แต่ก็มีบางส่วนที่ทำงานในสถานที่อื่นๆ เช่น คลินิก ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ อนามัยชุมชน กรมการแพทย์ทหาร กรมการแพทย์ตำรวจ เป็นต้น
  • แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูจะทำงานตามเวลาราชการของโรงพยาบาล (โดยทั่วไปคือ 8.00-16.00 น.) หรือตามเวลาทำงานของสถานพยาบาลนั้น ๆ
  • เนื่องจากในปัจจุบันจำนวนของแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูมีปริมาณน้อย จึงทำให้แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูอาจต้องทำงานนอกเวลาปกติเพื่อดูแลผู้ป่วย จึงมักทำงาน 50-60 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
  1. ความรู้ทางการแพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูจำเป็นต้องมีความรู้ทางการแพทย์พื้นฐานที่ครอบคลุม เช่น วิทยาศาสตร์ชีวภาพ กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิวิทยา เภสัชวิทยา
  2. ความรู้ทางการแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู เช่น ภาวะพิการ เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ 
  3. ความรู้ด้านฟิสิกส์กลศาสตร์ เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบอวัยวะเทียมให้แก่ผู้ป่วย
  4. ทักษะทางคลินิก เช่น การซักประวัติผู้ป่วย การวินิจฉัยโรค การวางแผนการรักษา 
  5. ทักษะการสื่อสารที่ดี เพื่อสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัวเกี่ยวกับโรค ภาวะ และแผนการรักษา อธิบายขั้นตอนการรักษาและหัตถการต่างๆ 
  6. ทักษะการทำงานเป็นทีมที่ดี เพื่อทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพ เช่น นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักพูดบำบัด นักโภชนาการ นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์
  7. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่เครียดจากอาการเจ็บป่วยของตนเอง
  • ผลตอบแทนขึ้นอยู่กับประสบการณ์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูทั่วไปเงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 40,000 บาทต่อเดือน หากมีประสบการณ์ 5-10 ปี เงินเดือนอาจอยู่ที่ 60,000 – 80,000 บาทหากมีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี เงินเดือนอาจสูงถึง 100,000 บาทต่อเดือนหรือมากกว่า 
  • แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูเฉพาะทาง เงินเดือนเริ่มต้นประมาณ 50,000 บาทต่อเดือน แพทย์ที่มีประสบการณ์ 5-10 ปี เงินเดือนอาจอยู่ที่ 80,000 – 120,000 บาทต่อเดือน แพทย์ที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี เงินเดือนอาจสูงถึง 150,000 บาทต่อเดือนหรือมากกว่า
  • แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูที่เปิดคลินิกส่วนตัว รายได้ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ป่วย แพทย์ที่มีชื่อเสียงและประสบการณ์สูง อาจมีรายได้หลายแสนบาทต่อเดือน
  • โอกาสในการประกอบอาชีพแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูในประเทศไทยมีค่อนข้างดี เนื่องจากสังคมไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายอยู่เสมอ
  • การเติบโตในอาชีพ (Career Path) ของ “แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู” มีดังนี้
    • สายงานในโรงเรียนแพทย์: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์
    • สายงานในโรงพยาบาลรัฐบาลหรือกระทรวงสาธารณสุข
      • เลื่อนขั้นตามระบบราชการ (นายแพทย์ปฏิบัติการ, นายแพทย์ชำนาญการ, นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ,นายแพทย์เชี่ยวชาญ,นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ)
  • สายงานโรงพยาบาลเอกชน
    • นายแพทย์ปฏิบัติการ
    • หัวหน้าแผนก หรือขึ้นเป็นตำแหน่งผู้บริหาร
  • ความยากและท้าทายของอาชีพ “แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู” คือ
    • การรักษาผู้ป่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟูมักใช้เวลานาน ผู้ป่วยบางรายอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนหรือหลายปีในการฟื้นฟู แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูจึงต้องมีความอดทน ใจเย็น และสามารถติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
    • ผู้ป่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟูมักเผชิญกับปัญหาทางจิตใจของผู้ป่วย เช่น ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า ความโกรธ ความหงุดหงิด แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูจึงต้องมีความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ และสามารถให้คำปรึกษา สนับสนุน และช่วยเหลือผู้ป่วยทางจิตใจได้
    • เทคโนโลยีทางการแพทย์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูจึงต้องติดตามความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
  • สิ่งที่เป็นความเสี่ยงของอาชีพนี้ 
  • อาชีพแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูเป็นอาชีพที่มีความเครียดสูง แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูต้องทำงานหนัก รับผิดชอบชีวิตผู้ป่วย และเผชิญกับปัญหาต่างๆ มากมาย แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูจึงต้องมีวิธีการจัดการความเครียดที่ดี
  • ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการทำงานหนัก อยู่เวรติดต่อกันเป็นเวลานาน พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ช่อง YouTube ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาชีพแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
    • RAMA Channel. (2020, October 22). RAMA Square – ทำความรู้จักบทบาทและหน้าที่ของแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู (1) 22/10/63 l RAMA CHANNEL [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=7D-v0rxQVzU

โรงพยาบาลรวมแพทย์ฉะเชิงเทรา. (2023, March 28). หมอเวชศาสตร์ฟื้นฟู [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=xEQaiMKeWJA 

มัธยมศึกษาตอนปลาย
  • สายวิทย์-คณิต
  • (ปัจจุบันมีโอกาสสำหรับนักเรียนทุกสายการเรียน แต่จำเป็นต้องมีความรู้และทักษะ สามารถสอบวัดระดับและผ่านเกณฑ์คัดเลือกต่างๆ ตามที่กำหนดด้วย)
ปริญญาตรี เช่น
  • คณะแพทยศาสตร์
  • วิทยาลัยแพทยศาสตร์
  • สำนักวิชาแพทยศาสตร์
ปริญญาโท เช่น
  • คณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรประกาศนียบัตรแพทย์ประจำบ้านฯ สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • คณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรประกาศนียบัตรแพทย์ประจำบ้านฯ สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • คณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู
*ข้อมูล ณ ปี 2567