ผู้จัดการร้านอาหาร

BRAND'S BRAIN CAMP

ผู้จัดการร้านอาหาร

ผู้ทำหน้าที่บริหารจัดการร้านอาหารทั้งระบบ ตั้งแต่ดูแลการให้บริการลูกค้า การจัดการทีมงาน ควบคุมคุณภาพอาหาร วัตถุดิบ และความสะอาด เพื่อให้การดำเนินงานราบรื่นและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า

เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ (Business Developer)
0:00 / 0:00
ผู้จัดการร้านอาหาร
  • ดูแลการปฏิบัติการประจำวัน  ควบคุมดูแลการทำงานของพนักงานในทุกส่วน ทั้งพนักงานบริการและพนักงานครัว ให้เป็นไปตามมาตรฐาน
  • จัดตารางงานและฝึกอบรมพนักงานใหม่ วางแผนกะการทำงาน สอดส่องประสิทธิภาพ และอบรมพนักงานเพื่อให้บริการได้มาตรฐาน
  • บริหารจัดการวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง ตรวจสอบจำนวนวัตถุดิบที่ใช้ การสั่งซื้อ และการขนส่งอาหารเพื่อให้มีเพียงพอต่อการบริการและควบคุมต้นทุน
  • ควบคุมคุณภาพบริการลูกค้า  สร้างความมั่นใจว่าลูกค้าจะได้รับบริการที่ดีเยี่ยมและประทับใจ ประสานงานเรื่องการจองโต๊ะ ตรวจสอบความต้องการพิเศษ และดูแลภาพรวมประสบการณ์ลูกค้า
  • ดูแลด้านเอกสารและกฎระเบียบ  จัดการเอกสารสำคัญที่จำเป็นสำหรับการดำเนินธุรกิจ เช่น ใบอนุญาตขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และใบรับรองจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย
  • ดูแลความปลอดภัยและมาตรฐานสุขอนามัยพื้นฐาน ตรวจสอบความปลอดภัยของอุปกรณ์และพื้นที่ ให้เป็นไปตามเกณฑ์สุขอนามัย
  • รับฟีดแบ็กจากลูกค้า ตรวจสอบการให้บริการโดยตรงเมื่อถูกร้องเรียน แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รับข้อเสนอแนะจากลูกค้า และปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
  1. ตรวจสอบความเรียบร้อยของร้าน  เดินสำรวจความสะอาด ความพร้อมของพื้นที่รับประทานอาหาร ห้องครัว ห้องน้ำ และบริเวณอื่น ๆ
  2. ตรวจสอบสต็อกและวัตถุดิบ  ตรวจสอบปริมาณวัตถุดิบที่จำเป็นสำหรับวันนั้น ๆ หากมีของขาดหรือใกล้หมด จะต้องประสานงานกับฝ่ายจัดซื้อหรือซัพพลายเออร์ทันที
  3. เตรียมความพร้อมของพนักงาน ตรวจสอบการแต่งกาย ความพร้อมในการให้บริการ และดูแลตารางงานพนักงาน ประชุมสรุปงานสั้น ๆ (Briefing) กับทีมงาน เพื่อแจ้งข้อมูลสำคัญประจำวัน เช่น เมนูพิเศษ โปรโมชั่น ลูกค้าที่จองโต๊ะ หรือข้อควรระวังต่าง ๆ 
  4. กำกับดูแลการบริการลูกค้า สังเกตการณ์การทำงานของพนักงานบริการ เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าได้รับการดูแลอย่างดีเยี่ยม รวดเร็ว และเป็นไปตามมาตรฐานของร้าน ดูแลการจัดสรรโต๊ะ การจัดคิว และการบริหารจัดการพื้นที่ให้เหมาะสม โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วน (Peak Hours)
  5. ควบคุมคุณภาพอาหารและเครื่องดื่ม ตรวจสอบความถูกต้องของออร์เดอร์ ประสานงานกับทีมครัวเพื่อให้มั่นใจว่าอาหารและเครื่องดื่มมีคุณภาพตามมาตรฐาน
  6. แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน เช่น ข้อร้องเรียนของลูกค้า ปัญหาการทำงานของพนักงาน หรืออุปกรณ์ขัดข้อง
  7. ดูแลการปิดบัญชีและสรุปยอดขาย  ตรวจสอบยอดขายประจำวัน การรับชำระเงิน และการจัดการเงินสดให้ถูกต้องครบถ้วน
  8. ตรวจสอบสต็อกคงเหลือ  ประเมินปริมาณวัตถุดิบที่เหลือ เพื่อวางแผนการสั่งซื้อสำหรับวันถัดไป
  9. ดูแลความสะอาดและการจัดเก็บ ตรวจสอบให้มั่นใจว่าครัวและพื้นที่บริการได้รับการทำความสะอาดอย่างทั่วถึง และอุปกรณ์ต่าง ๆ ถูกจัดเก็บอย่างเรียบร้อย
  10. สรุปงานกับทีม ประชุมสั้น ๆ หลังปิดร้าน เพื่อสรุปผลการดำเนินงานประจำวัน ชื่นชมพนักงาน และให้ข้อเสนอแนะสำหรับการปรับปรุง
  11. จัดทำรายงาน สรุปข้อมูลสำคัญประจำวัน เช่น ยอดขาย ต้นทุน ปัญหาที่พบ และข้อเสนอแนะ
  12. วางแผนสำหรับวันถัดไป  เตรียมแผนการทำงานสำหรับวันรุ่งขึ้น รวมถึงการจัดตารางพนักงานและการสั่งซื้อวัตถุดิบ
  1. เชฟและผู้ช่วยเชฟ
  2. พนักงานเสิร์ฟ
  3. นักบัญชี 
  4. บาร์เทนเดอร์
  5. ผู้จัดซื้อวัตถุดิบ
  • สถานที่ทำงาน ผู้จัดการร้านอาหารส่วนใหญ่ทำงานประจำอยู่ที่ร้านอาหารที่ตนรับผิดชอบ ซึ่งเป็นได้ทั้ง ร้านอาหารทั่วไป ห้องอาหารในโรงแรม ภัตตาคาร หรืออาจต้องเดินทางไปยังสาขาต่าง ๆ หากบริหารร้านค้าในเครือ
  • เวลาทำงาน เวลาทำงานขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละร้าน เนื่องจากลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการลูกค้า เวลาทำงานมักยืดหยุ่นและอาจไม่แน่นอน โดยทั่วไปจะทำงานเต็มเวลา และอาจรวมถึงช่วงเย็น วันหยุดสุดสัปดาห์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ร้านอาหารมักมีลูกค้ามากที่สุด อาจมีการทำงานล่วงเวลาเพื่อดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างราบรื่น
  1. ความรู้ด้านการบริหารธุรกิจร้านอาหาร เข้าใจหลักการบริหารจัดการร้านอาหารทั้งหมด เช่น การบริหารจัดการครัว การบริการลูกค้า การควบคุมต้นทุนและกำไร
  2. ทักษะการเป็นผู้นำและการบริหารทีม สามารถนำทีม จัดการความขัดแย้ง และสร้างแรงจูงใจให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ทักษะการสื่อสารและการประสานงาน สามารถสื่อสารได้อย่างชัดเจนกับพนักงาน ลูกค้า และซัพพลายเออร์ รวมถึงประสานงานให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันได้ดี
  4. ทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ  มีไหวพริบในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วภายใต้สถานการณ์กดดัน
  5. ทักษะการบริการลูกค้า เข้าใจความต้องการของลูกค้า สามารถจัดการกับข้อร้องเรียน และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้
  6. ความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย เข้าใจมาตรฐานด้านสุขอนามัยอาหาร กฎระเบียบ และข้อบังคับด้านความปลอดภัยในร้านอาหาร
  7. ความรู้ด้านการตลาดและการขาย สามารถวางแผนและดำเนินการด้านการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขาย
  8. ทักษะด้านเทคโนโลยี สามารถใช้โปรแกรมหรือระบบ POS (Point of Sale) และเครื่องมือบริหารจัดการร้านอาหารต่าง ๆ ได้
  • ผลตอบแทน ขึ้นอยู่กับขนาดของร้านอาหาร ประสบการณ์ และความรับผิดชอบ
    • เงินเดือนเริ่มต้น  โดยทั่วไปประมาณ 20,000 – 45,000 บาท/เดือน
    • ผู้มีประสบการณ์สูง หรือบริหารร้านอาหารระดับกลางถึงใหญ่  ร้านอาหารที่มีชื่อเสียงหรือร้านอาหารระดับหรู อาจได้รับเงินเดือนสูงกว่า 50,000  บาท/เดือน หรือมากกว่านั้น
    • รายได้เสริม ในบางร้านอาจมี ค่าคอมมิชชัน, โบนัส หรือส่วนแบ่งผลกำไรจากการทำยอดขายถึงเป้า
  • โอกาสและการเติบโตของอาชีพผู้จัดการร้านอาหาร
    • การเติบโตในสายงาน  เริ่มต้นจากการเป็นพนักงานทั่วไป หรืออาจเริ่มที่ตำแหน่งผู้จัดการฝึกหัด แล้วจึงขยับมาเป็นผู้จัดการร้าน จากนั้นสามารถเลื่อนตำแหน่งเป็น ผู้จัดการเขต/ภาค (Area Manager), ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ (Operations Director) หรือพัฒนาไปสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจร้านอาหารของตนเอง
    • ทำงานในร้านอาหารระดับหรู ร้านอาหารหรูมักมีมาตรฐานการบริการที่ซับซ้อน  ตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบพรีเมียม การจัดการไวน์ลิสต์ ไปจนถึงการฝึกอบรมพนักงานให้มีทักษะการบริการระดับโลก การจะมาเป็นผู้จัดการร้านหรูได้ มักจะต้องมีประสบการณ์ที่ยาวนานและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางสูง ทั้งในด้านอาหาร เครื่องดื่ม การบริการลูกค้ากลุ่มพรีเมียม และการบริหารจัดการทีมขนาดใหญ่ ผู้จัดการร้านอาหารระดับนี้จึงจะได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าผู้จัดการในร้านทั่วไป
    • การเป็นที่ปรึกษา  ผู้ที่มีประสบการณ์สูงสามารถผันตัวเป็นที่ปรึกษาด้านการบริหารร้านอาหาร หรือเป็นวิทยากรบรรยายให้กับผู้ที่สนใจ
    • โอกาสทำงานในต่างประเทศ  บางประเทศในยุโรป เช่น เยอรมนี กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรในอุตสาหกรรมร้านอาหารและบริการ ซึ่งอาจเป็นโอกาสสำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติและความสามารถ หากมีประสบการณ์การทำงานในร้านอาหารหรูหรือโรงแรมในประเทศไทย และมีทักษะภาษาอังกฤษที่ดีเยี่ยม ก็มีโอกาสที่จะเข้าไปทำงานในร้านอาหารนานาชาติหรือโรงแรมห้าดาวในต่างประเทศได้เช่นกัน นอกจากนี้ตำแหน่งผู้จัดการในเครือโรงแรมใหญ่ๆ มักจะมีโอกาสย้ายไปทำงานในประเทศต่างๆ ได้
    • ร้านอาหารไทยในต่างประเทศเป็นที่นิยม ความต้องการเชฟและผู้จัดการร้านอาหารไทยในต่างประเทศนั้นค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในประเทศที่มีชุมชนคนไทยหรือมีความนิยมอาหารไทยอย่างแพร่หลาย เช่น สหรัฐอเมริกา, ยุโรป, ออสเตรเลีย หรือประเทศในแถบเอเชีย การมีผู้จัดการร้านที่เป็นคนไทย จะช่วยให้การสื่อสารในครัว การควบคุมมาตรฐานอาหารไทยแท้ และการบริหารจัดการทีมที่เป็นคนไทยมีความราบรื่นขึ้น
    • ธุรกิจอาหารไม่เคยหยุดเติบโต ไม่ว่าจะช่วงเวลาเศรษฐกิจดีหรือแย่ คนก็ยังต้องกิน ร้านอาหารจึงยังเปิดใหม่และขยายสาขาอยู่เสมอ ทำให้ต้องการ “ผู้จัดการร้านที่มีประสบการณ์” มาดูแลภาพรวม
  • ความท้าทายของอาชีพผู้จัดการร้านอาหาร
    • การรักษามาตรฐานของร้านในช่วงเวลาที่เร่งรีบหรือคนขาด ช่วงเวลาเร่งด่วน เช่น มื้อกลางวัน มื้อเย็น หรือวันหยุดสุดสัปดาห์ อาจมีลูกค้าเข้ามาจำนวนมาก ทำให้เกิดความตึงเครียดภายในทีม ผู้จัดการร้านต้องรับมือกับสถานการณ์เฉพาะหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น สลับพนักงานมาช่วยตรงจุดบริการ ปรับแผนการจัดการครัว เพิ่มเวลาพักให้ทีม หรือแม้แต่ลงมาช่วยบริการเอง เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด และไม่กระทบชื่อเสียงของร้าน
    • การจัดการกับพนักงานที่มีทัศนคติแตกต่าง พนักงานในร้านอาหารมักมีหลากหลายวัยและพื้นเพ ตั้งแต่พนักงานพาร์ตไทม์วัยเรียน ไปจนถึงพ่อครัวที่มีประสบการณ์หลายสิบปี ทัศนคติและสไตล์การทำงานที่แตกต่างกันอาจทำให้เกิดความขัดแย้งหรือการไม่ประสานกันได้ง่าย ผู้จัดการร้านจึงต้องมีทักษะการสื่อสาร การประนีประนอม และสร้างวัฒนธรรมทีมให้ทุกคนร่วมมือกัน แม้จะมีมุมมองที่ไม่เหมือนกันก็ตาม
    • การปรับตัวต่อเทรนด์อาหารและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง ผู้บริโภคยุคใหม่ให้ความสำคัญกับสุขภาพ ความยั่งยืน ความแปลกใหม่ และประสบการณ์ เช่น ต้องการอาหาร plant-based, เมนู allergen-free, การตกแต่งจานสวย หรือบริการที่รวดเร็วแบบ self-service ผู้จัดการร้านต้องติดตามเทรนด์เหล่านี้อย่างใกล้ชิด พร้อมปรับเมนูและบริการให้ทันต่อความต้องการ และสามารถแข่งขันกับร้านอื่น ๆ ได้
    • การควบคุมต้นทุนในสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน เมื่อวัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น ค่าจ้างแรงงานปรับขึ้น หรือยอดขายลดลงจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ผู้จัดการร้านต้องวางแผนจัดการต้นทุนอย่างรอบคอบ เช่น หาวิธีลดของเสีย (food waste), ปรับ portion size อย่างเหมาะสม, เจรจากับซัพพลายเออร์, หรือหาแนวทางสร้างรายได้เพิ่มเติม เช่น จัดโปรโมชั่น จัดส่งเดลิเวอรี ฯลฯ ทั้งหมดนี้ต้องทำโดยไม่ลดคุณภาพที่ลูกค้าคาดหวัง
  • ช่องทาง Youtube ที่เกี่ยวกับอาชีพผู้จัดการร้านอาหาร
    • Torpenguin. (2023, Jan 24). เปิดความลับ การสอนพนักงาน การบริหารคน แบบ McDonald’s | Penguin Talk EP. 33 [Video]. https://www.youtube.com/watch?v=3rPBH2QwfQs
    • Jmoney. (2022, Aug  16). ทำ Restaurant manager ผู้จัดการร้านอาหารในอเมริกา ทำอะไร รายได้เท่าไหร่ [Video].https://www.youtube.com/watch?v=9BR5JL9cunk 
  • พี่ต้นแบบอาชีพผู้จัดการร้านอาหาร  [สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567]